แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
คำชี้แจง ข้อสอบทั้งหมดมี ๑๐ ข้อ ๑๐ คะแนน
ให้นักเรียนอ่านคำถามแล้วทำเครื่องหมาย (×) ทับข้อ ก ข ค หรือ ง
ในกระดาษคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
๑. คำวิเศษณ์บอกสถานที่ตรงกับข้อใด
ก. อย่ามานั่งใกล้ฉันนะ
ข. เราควรคบคนใกล้ไว้ดีกว่า
ค. ฉันชอบนั่งใกล้เขา
ง. บ้านฉันอยู่ใกล้บ้านเขา
๒. ข้อใดมีคำวิเศษณ์บอกอาการ
ก. มีดเล่มนี้หักแล้ว
ข. ขลุ่ยเลานี้เป่าเพราะมาก
ค. นักกีฬาคนนี้วิ่งเหยาะๆ
ง. หมากทะลายนี้มีผลดก
๓. ข้อใดมี คำวิเศษณ์ บอกลักษณะ
ก. ตลาดห้องแถวเก่าคับแคบอับทึบ
ข. ฉันไม่เคยนอนตื่นสาย
ค. ก๋งเร่งอย่าให้เขาต้องรอ
ง. แมลงป่องต่อยปวดมากถึงกับเป็นไข้
๔. ข้อใดคือลักษณะของคำวิเศษณ์
ก. คำขยายหรือประกอบคำนามและสรรพนาม
ข. คำขยายหรือประกอบคำนามและคำกริยา
ค. คำขยายหรือประกอบคำนามคำสรรพนาม และคำกริยา
ง. คำขยายหรือประกอบคำนามและคำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์
๕. กุ้งนิ่งไปหลายวัน คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำวิเศษณ์ชนิดใด
ก. คำวิเศษณ์บอกเวลา
ข. คำวิเศษณ์บอกลักษณะ
ค. คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ
ง. คำวิเศษณ์บอกปริมาณ
๖. นั่น ในข้อใดเป็นนิยมวิเศษณ์
ก. ร้านนั่นขายของแพง
ข. นั่นไม่ดี
ค. นั่นคือบ้านของฉัน
ง. นั่นค่อนข้างอันตราย
๗. ประโยคในข้อใดมีประมาณวิเศษณ์
ก. คุณยายดื่มน้ำร้อน
ข. เธอซ้อมวิ่งทุกเช้า
ค. โจทย์ข้อนี้ทำได้สองวิธี
ง. มะนาวมีรสเปรี้ยว
๘. ข้อใดมีประติชญาวิเศษณ์
ก. ฉันไม่ได้พูดปดค่ะ
ข. วันนี้เธอไม่ไปโรงเรียน
ค. กุ้งร้องไห้เพราะหกล้ม
ง. คนไหนส่งเสียงดัง
๙. ข้อใดมีปฤจฉาวิเศษณ์
ก. อะไรที่เธอชอบ
ข. ขนมอะไรคุณก็ไม่กิน
ค. เพลงใดที่คุณชอบฟัง
ง. เขาจะพูดอะไรก็ช่างเขา
๑๐. ข้อใดไม่ใช่ประโยคที่มีประพันธวิเศษณ์
ก. ฉันชอบเสื้อสวยที่ราคาไม่แพง
ข. เขาสอบไม่ผ่านเพราะความประมาทของเขา
ค. สนามหญ้าอันกว้างใหญ่มีขยะเต็มไปหมด
ง. ผมชอบกินขนมเค้กนุ่มๆ ที่พี่ทำ
ใบความรู้ที่ ๑
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และ
คำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อบอกลักษณะต่าง ๆ ( ขนาด สัณฐาน สี กลิ่น รส ปริมาณ
สถานที่ ฯลฯ ) และเพิ่มความหมายให้ชัดเจนขึ้น คำวิเศษณ์แบ่งเป็น ๑๐ ชนิด คือ
๑. คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์)
๒. คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์)
๓. คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์)
๔. คำวิเศษณ์บอกปริมาณ หรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)
๕. คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์)
๖. คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)
๗. คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์)
๘. คำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์)
๙. คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเสธวิเศษณ์)
๑๐. คำวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน(ประพันธวิเศษณ์)
ใบความรู้ที่ ๒
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
คำวิเศษณ์บอกลักษณะ ( ลักษณวิเศษณ์ )
คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่าง ๆ ได้แก่
บอกชนิด ดี เลว ชั่ว อ่อน แก่ หนุ่ม สาว
บอกขนาด ใหญ่ เล็ก กว้าง ยาว
บอกสัณฐาน กลม แบน รี ทุย
บอกสี เขียว แดง เหลือง น้ำเงิน
บอกเสียง ดัง ค่อย เบา แผ่ว แหบ เพราะ ทุ้ม
บอกกลิ่น หอม เหม็น ฉุน
บอกรส เผ็ด หวาน เปรี้ยว ขม มัน
บอกสัมผัส ร้อน อุ่น เย็น นุ่ม อ่อน แข็ง กระด้าง หยาบ
บอกอาการ เร็ว ช้า เซ่อ ว่องไว กระฉับกระเฉง
รูปประโยคที่มีลักษณวิเศษณ์ เช่น
คนแก่เดินช้า
พี่ชายคนโตฉันชื่ออัสนี
เขาร้องเพลงเพราะ
ใบความรู้ที่ ๔
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์)
คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่หรือระยะทาง ว่า บน ล่าง เหนือ ใต้ หน้า หลัง ไกล ใกล้ บก น้ำ ชิด ริม เช่น
ฉันอยู่ภาคเหนือ
น้องนั่งริมหน้าต่าง
คำวิเศษณ์บอกสถานที่บางคำ ถ้ามีคำนามหรือคำสรรพนามมาต่อท้ายจะถือเป็นคำบุพบททันที เช่น
บ้านของเขาอยู่ใกล้ ( ใกล้ ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์)
บ้านของเขาอยู่ใกล้ตลาด ( ใกล้ ในที่นี้เป็นคำบุพบท)
เขาเดินจากทิศเหนือไปจนถึงทิศ ใต้ ( เหนือ ใต้ ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์)
ดินสออยู่ใต้สมุด ( ใต้ ในที่นี้เป็นคำบุพบท)
ใบความรู้ที่ ๕
แบบฝึกคำไทยใช้ให้เป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องที่ ๖ คำชัดเจนด้วยวิเศษณ์
คำวิเศษณ์บอกปริมาณ หรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)
แบ่งเป็น
- บอกปริมาณ ได้แก่คำว่า มาก น้อย บรรดา ต่าง บาง บ้าง ผอง ทั้งหมด ทั้งหลาย ทั้งปวง หลาย จุ ฯลฯ เช่น
บรรดาผู้มาชุมนุมได้รับการว่าจ้างจากนายทุน
บางคนก็หลับเวลาเรียน
- บอกจำนวน ได้แก่ จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม ที่สี่ ที่ห้า เช่น
ฉันสอบได้ ที่หนึ่งของห้อง
เขาทำงานหกวันในหนึ่งสัปดาห์
คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)
คือ คำวิเศษณ์ที่มีรูปซ้ำกับปฤจฉาวิเศษณ์ แต่ไม่ใช่ประโยคคำถาม โดยจะใช้ในประโยคที่แสดงความไม่แน่นอน ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง และ ไม่ต้องการคำตอบ
อนิยมวิเศษณ์ ได้แก่คำว่า ใด ไร ไหน อย่างไร อย่างไหน กี่ อะไร ทำไม ฉันใด เช่นไร อื่น เช่น
คนอื่นไปกันหมดแล้ว
เธอจะนั่งเก้าอี้ตัวไหนก็ได้
คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) แตกต่างจากสรรพนาม
ไม่เฉพาะเจาะจง (อนิยมสรรพนาม) พิจารณาจากตัวอย่างต่อไปนี้
อาหารอะไรฉันก็กินได้ทั้งนั้น (อนิยมวิเศษณ์) ระบุว่า อะไร
ในที่นี้คืออาหาร
อะไรฉันก็กินได้ทั้งนั้น (อนิยมสรรพนาม)
นักเรียนคนใดที่ทำดีฉันก็รักทั้งนั้น (อนิยมวิเศษณ์) ระบุว่า ใคร
ในที่นี้คือนักเรียน
ใครที่ทำดีฉันก็รักทั้งนั้น (อนิยมสรรพนาม)
ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  หน้าคำที่เป็นสถานวิเศษณ์
๑. บ้านของจุกอยู่ ใกล้ ๑. บ้านของจุกอยู่ ใกล้วัด
๒. ดำรงเดินขึ้นไปทางทิศเหนือ ๒. ดำรงเดินขึ้นไปเหนือน้ำ
๓. แดงเดินอ้อมไปข้างหลัง ๓. แดงเดินอ้อมไปทางหลังบ้าน
๔. ขึ้นลงให้เดินชิดขวา ๔. ขึ้นลง ให้เดินชิดขวาของบันได
๕. ขุนเขาตั้งตระหง่านอยู่
เบื้องหน้า ๕. ขุนเขาตั้งตระหง่านอยู่
ทิศเหนือ
๖. แจกันอยู่บนโต๊ะ ๖. แจกันอยู่ข้างบน
๗. แลเห็นทุ่งนาอยู่ไกลๆ ๗. ทุ่งนาอยู่ไกลหมู่บ้าน
๘. แลเห็นน้ำใสอยู่เบื้องล่าง ๘. แลเห็นน้ำใสอยู่เบื้องล่าง
ของสะพาน
๙. คุณแม่จะไปบ้านนอก ๙. คุณแม่จะไปนอกบ้าน
๑๐. ดำรงอยู่ใต้ต้นไม้ ๑๐. ดำรงอยู่ใต้
๑. ผีเสื้อ ............ พากันบินดอมดมดอกบัว
๒. ................ ผู้มาชุมนุมต่างพากันสลายตัว
๓. น้องอิงสอบได้ ...................... ของห้อง
๔. ............. คนก็ชอบหลับเวลาเรียน
๕. คนอ้วนมักกิน...............
๖. คน ............................ เดือดร้อนเพราะน้ำท่วม
๗. แม่ทำงาน ................... วันใน หนึ่งสัปดาห์
๘. ชาวไทยทั้ง .............. ต่างรักสามัคคี
๙. ............... แถวตรง ซ้ายหัน
๑๐. ใน .................. ลูก............. มดดื้อที่สุด