ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
Advertisement

การพัฒนารูปแบบการการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง

เรื่อง การพัฒนารูปแบบการการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง

ผู้วิจัย นางพัชรินทร์ ชัยจันทร์

หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Resench Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง และ4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กำหนดขั้นตอนการวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ดังนี้ คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา(Development: D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) :รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) : การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) : การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ครูในโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวิเคราะห์แบบทดสอบที่ใช้ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเชิงบูรณาการ 2) แบบสัมภาษณ์ ที่ใช้ศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเชิงบูรณาการ 3) แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครู และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนเชิงบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนและเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนการสอนของครูสู่ผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง ปรากฏผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง โดยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ เกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน ควรมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันและมีการศึกษาอย่างแท้จริงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ และการศึกษาความต้องการของครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่นำไปสู่การกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติ ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของคณะครูเพื่อให้เกิดการพัฒนางานนิเทศภายใน นอกจากนี้การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ มาใช้วางแผนการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่โรงเรียนควรปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการนิเทศภายใน โดยให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ในส่วนของการสรุปผลการวางแผนและการกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายใน ควรมีการสรุปผลทุกครั้งที่มีการวางแผนและมีการจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนครั้งต่อไป อีกทั้งครูควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายใน เพื่อให้การปฏิบัติงานนิเทศภายในเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ คณะครูสามารถทำได้หลากหลายวิธี ที่จะทำให้คณะครูเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจมากขึ้น สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปตามระบบและกระบวนการนิเทศภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในโดยมีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย จะทำให้คณะครูมีความสุขในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเต็มความสามารถ และทำให้การปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วย ในส่วนการประเมินผลการนิเทศภายในโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น เป็นการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่มีความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือในการประเมินผล เป็นข้อมูลที่มาจากความเป็นจริง สามารถนำผลที่ได้จากการประเมินมาแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาการปฏิบัติงานนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ควรรับฟังความต้องการของครูมากขึ้น ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนและให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมในการปฏิบัติงาน ควรมีการสรุปผลและจดบันทึกทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนครั้งต่อไป ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายในให้แก่คณะครูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรมีการสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตามขั้นตอน ควรเน้นการสร้างบรรยากาศให้มีความยุติธรรม ควรนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาใช้ในการประเมินผล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานนิเทศภายในให้ดีขึ้นกว่าเดิม และ ควรมีการรายงานผลการประเมินตามสภาพที่เป็นจริง

2. ผลการออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ตามแนวคิดของ ดร. สงัด อุทรานันท์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง มีองค์ประกอบได้แก่หลักการ คือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของรูด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศ เหมาะสมกับครูแต่ละคน เพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการนิเทศของผู้นิเทศและส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง และกระบวนการในการนิเทศ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning-P) ขั้นตอนที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (Informing-I) ขั้นตอนที่ 3 ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D) ได้แก่ 3.1 การปฏิบัติงานของผู้รับนิเทศเป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมาจากดำเนินการในขั้นที่ 2 3.2 การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้งานสำเร็จออกมาทันตามกำหนดเวลาและมีคุณภาพสูง 3.3 การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้บริการสนับสนุนในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผลขั้นตอนที่ 4 สร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นตอนที่ 5 ประเมินการนิเทศ (Evaluating-E) โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ และองค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าเท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง สรุปได้ดังนี้

3.1 สมรรถภาพในการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้นิเทศ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก

3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ

3.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ

3.4 สมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงมาก

4. ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มพบว่าองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการนิเทศไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู เป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งด้านการนิเทศและการทำวิจัยในชั้นเรียน และ ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนทุกระดับชั้น ทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ

โพสต์โดย เอ๋ : [5 ก.ย. 2562 เวลา 06:02 น.]
อ่าน [5114] ไอพี : 115.87.163.15
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
Advertisement

 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,659 ครั้ง
เพลงลอยกระทง
เพลงลอยกระทง

เปิดอ่าน 67,770 ครั้ง
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(2560)
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(2560)

เปิดอ่าน 10,108 ครั้ง
เฟซบุ๊ก เตรียมเผยการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแบบใหม่ วันนี้
เฟซบุ๊ก เตรียมเผยการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแบบใหม่ วันนี้

เปิดอ่าน 35,043 ครั้ง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2555

เปิดอ่าน 10,433 ครั้ง
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?
สแกน...ลดเวลาเรียน "3 สัปดาห์"บรรลุเป้า?

เปิดอ่าน 25,312 ครั้ง
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

เปิดอ่าน 304,459 ครั้ง
มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔
มิตรแท้ ๔ มิตรเทียม ๔

เปิดอ่าน 16,281 ครั้ง
10 อาหารอุดมแคลเซียม ที่จะช่วยคุณลดน้ำหนักได้
10 อาหารอุดมแคลเซียม ที่จะช่วยคุณลดน้ำหนักได้

เปิดอ่าน 18,542 ครั้ง
ชมคลิป เด็ก ป.5 ท่องบทอาขยานไพเราะสุด ๆ ฟังแล้วทึ่ง
ชมคลิป เด็ก ป.5 ท่องบทอาขยานไพเราะสุด ๆ ฟังแล้วทึ่ง

เปิดอ่าน 14,553 ครั้ง
แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551
แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551

เปิดอ่าน 12,456 ครั้ง
รวมคลิปผาดโผนที่ Fail ประจำเดือน กันยายน 2555
รวมคลิปผาดโผนที่ Fail ประจำเดือน กันยายน 2555

เปิดอ่าน 17,082 ครั้ง
เผย 10 อันดับงาน คนอยากทำ-องค์กรอยากได้
เผย 10 อันดับงาน คนอยากทำ-องค์กรอยากได้

เปิดอ่าน 15,952 ครั้ง
ฟื้นฟูตัวเอง 15 วัน เปลี่ยน...ให้สวย
ฟื้นฟูตัวเอง 15 วัน เปลี่ยน...ให้สวย

เปิดอ่าน 48,881 ครั้ง
คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล
คู่มือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล

เปิดอ่าน 10,538 ครั้ง
10 วิธีรักษาเงินสด
10 วิธีรักษาเงินสด

เปิดอ่าน 13,008 ครั้ง
การยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบบำเหน็จบำนาญ
การยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบบำเหน็จบำนาญ
เปิดอ่าน 109,620 ครั้ง
ฝึกพูด ภาษาอังกฤษ กับลูก ด้วยคำถาม คำสั่ง คำชม ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ฝึกพูด ภาษาอังกฤษ กับลูก ด้วยคำถาม คำสั่ง คำชม ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เปิดอ่าน 14,409 ครั้ง
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
ปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ จากสุนัขมุ่งเน้นใช้ กับคนในอนาคต
เปิดอ่าน 16,031 ครั้ง
แบบออกกำลังพื้นฐาน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10
แบบออกกำลังพื้นฐาน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10
เปิดอ่าน 25,659 ครั้ง
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
โครงการบ้านเชียงใหม่
บ้านเชียงใหม่
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ