ชื่อวิจัย: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA)
เสริมด้วยชุดกิจกรรม
ผู้วิจัย: ว่าที่ ร.ต.สันติกร นาวารัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย: 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง แรง ในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการคิด เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง 52 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 6 ชนิด ดังนี้ (1) แผนการจัด การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 7 แผน จำนวน 18 ชั่วโมง (2) ชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ จำนวน 1 ชุด มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.37 ถึง 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น rKR-20 เท่ากับ 0.73 (4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ด้าน มีค่า IOC>.50 ทุกด้าน (5) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิด สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.46 ถึง 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น rKR-20 เท่ากับ 0.85 (6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.802 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วย ชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 81.48/89.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 80/80
2.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ปรากฏผลดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80
2.3 ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา (ACACA) เสริมด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวันและวัสดุรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.18, SD.=0.80)