ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้ชุดฝึกทักษะและกระบวนการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสาวตติยา ม้าวงษ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 32 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า ttest ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ = 84.58/81.67 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนชวนคิด โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄ = 4.83 , S.D. = 0.61 )