ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางอกนิฏฐ์ นิติวิสิฏฐากร
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่นจำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น คนโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน เวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหา แบบประเมินทักษะ การคิดแก้ปัญหา แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อ เรียกว่า SDUDKSP Model โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
2. ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ทั้ง 3 ด้าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (stem education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (stem education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (stem education) กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด