ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา
(STEAM Education) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning)
ผู้วิจัย นายอัครเจตน์ สีหะวงษ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานศึกษา โรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
สถานที่วิจัย โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดกิจกรรม
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ การเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) โดยใช้เทคนิคการประเมินแบบ CIPPIEST Model ตามแนวคิดของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) ประกอบด้วยการประเมินใน 8 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบึงมะลู ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 169 คน ที่ร่วมกิจกรรมลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบฯ และคู่มือการจัดกิจกรรม
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบประเมินองค์ 4 แห่งการศึกษา เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.63 - 0.85
และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 2.2) แบบประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C)
เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.65 - 0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 2.3) แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ
เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 65 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.52 - 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) สภาพปัจจุบันและปัญหาในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) พบว่า ครูมีความพร้อม
และดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือ แต่ยังไม่มีความชัดเจนด้านความรู้ ทักษะ และแรงจูงใจในการจัด
กิจกรรม เท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่มีรูปแบบ วิธีการ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเสริมสร้าง และการประเมินทักษะ นักเรียนยังไม่เห็นความสำคัญในการปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขาดความกระตือรือร้น ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม และการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.53, S.D.= 0.63) และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.66, S.D.= 0.54)
3) ผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H) และทักษะผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM)
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ปรากฏดังนี้
3.1) ผลการประเมินทักษะองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H ) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.58, S.D.= 0.46)
3.2) ผลการประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R) ทักษะในสาระวิชาหลัก
(Core Subjects3R) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM)
โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก
( 4.62, S.D.= 0.66)
3.3) ผลการประเมินทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (8C) ทักษะการเรียนรู้
และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills 8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning)
ในภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับ ดีมาก ( = 4.53, S.D.= 0.44)
4) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างองค์ 4 แห่งการศึกษา (4H)
และทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (3R8C) ในกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามแนวสะตีมศึกษา (STEAM Education) โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (PBL: Project Based Learning) ในภาพรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับ มาก ( = 4.48, S.D. = 0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.56) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) อยู่ในระดับ มาก ( = 4.38, S.D. = 0.51) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.66) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) อยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.72) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) อยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.53, S.D. = 0.55) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) อยู่ในระดับ มาก
( = 4.48, S.D. = 0.42) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) อยู่ในระดับ มาก
( = 4.42, S.D. = 0.38) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation)
อยู่ในระดับ มาก ( = 4.31, S.D. = 0.44)