ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้
กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษา นางประภาพร บุณยโพธิ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการ ความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2.2 เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการความรู้หลังเรียนตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียนจำนวน 72 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งจัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธรได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
สรุปผลการวิจัย
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปผลการวิจัยดังนี้
ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้
1. สัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ดังนี้
1.1 การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
1.1.1 แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนนอกจากการสอนโดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ และการสอนแบบบรรยายประกอบใบความรู้แล้ว ยังใช้วิธีการให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมจากหนังสือในห้องสมุด จากอินเทอร์เน็ต จากปราชญ์ชาวบ้าน หรือแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น วัด สถานประกอบการ แหล่งโบราณคดี เป็นต้น และมีการตรวจสอบความเข้าใจโดยการใช้คำถาม ใช้วิธีการให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มโดยให้ใบงาน ตรวจสอบความถูกต้องและความเข้าใจจากการทำใบงาน และการอภิปรายเนื้อหาที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
1.1.2 ปัญหาจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ปัญหาจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า หนังสือที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนก็มีจำนวนน้อยมากและหนังสือก็จะเป็นหนังสือที่ค่อนข้างเก่าที่ข้อมูลก็เก่ามากไม่เป็นปัจจุบัน และในห้องสมุดประชาชนเท่าที่เคยให้รุ่นพี่ไปศึกษาค้นคว้าในปีก่อนทราบว่าหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นก็มีจำนวนน้อย และหนังสือส่วนมากก็จะเก่าและค่อนข้างชำรุด สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์จากปราชญ์ชาวบ้านค่อนข้างมีปัญหาในการเก็บข้อมูล เนื่องจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เฉพาะด้านในปัจจุบันมีน้อยคน ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ และถ้าเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่อายุน้อยจะไม่ค่อยมีเวลาในการถ่ายทอดความรู้ เพราะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
1.2 สื่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สำหรับสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะใช้หนังสือเรียน หรือ ใบความรู้ประกอบการบรรยายเนื้อหา และมีการใช้สื่อที่เป็นสถานการณ์จริง เช่น การร่วมกิจกรรม แห่เทียนพรรษา กิจกรรมบุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่ เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ เช่น วัด โบสถ์ วิหาร ถ้ำพิพิธภัณฑ์ สถานประกอบการ ชุมชน บ้านปราชญ์ชาวบ้านสาขาต่าง ๆ
1.3 แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะใช้แหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ หรือแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ใกล้โรงเรียน เช่น วัด สถานที่ราชการ ห้องสมุดประชาชน จะใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี เช่น ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีบุญบั้งไฟ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นชุมชน จะใช้ในการเรียนการสอนประเพณี เช่น บุญข้าวจี่ บุญข้าวประดับดิน การเรียนการสอนที่บ้านนักปราชญ์ในสาขาภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น งานศิลปหัตถกรรม งานกสิกรรมจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นผู้รู้และภูมิปัญญาของท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร
1.4 การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนจะใช้วิธีการวัดผลด้านเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้แบบทดสอบและใบงาน ถ้าเป็นชิ้นงานจะวัดและประเมินผลตามเกณฑ์
โดยพิจารณาตามเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)
1.5 ข้อเสนอแนะอื่นๆเกี่ยวกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูผู้สอนควรมีเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างครูผู้สอน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ผู้บริหาร ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง นักเรียน ในการเรียนการสอน ควรจัดครูผู้สอนเข้าสอนตรงกับสาขาวิชา ถ้าจัดครูผู้สอนเข้าสอนไม่ตรงกับสาขาวิชาจะทำให้การถ่ายทอดเนื้อหาได้ไม่ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือมาตรฐานการเรียนรู้ ถ้าพื้นฐานความรู้เดิมของนักเรียนจากระดับชั้นที่ผ่านมาไม่ครอบคลุม ก็จะทำให้การถ่ายทอดเนื้อหาในระดับที่สูงขึ้นล่าช้าที่สำคัญ ถ้าครูผู้สอนมีความรู้ด้านเทคโนโลยีน้อย ก็จะทำให้การเข้าถึงข้อมูลใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้ในการเรียน การสอนไม่ทันยุคสมัย จะทำให้ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้
2 สัมภาษณ์นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
สัมภาษณ์นักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนักเรียนมีความคิดเห็นโดยสรุป ดังนี้
ด้านการจัดการเรียนการสอนของครูพบว่า สอดคล้องกับครูผู้สอนคือ ใช้การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอนเช่นหนังสือใบความรู้ถาม-ตอบ เป็นต้น
ด้านแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับครูผู้สอน คือ ใช้หนังสือเรียนหนังสือในห้องสมุดค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตสัมภาษณ์ผู้ปกครองปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปศึกษาที่จากแหล่งเรียนรู้จากสถานที่จริงเป็นต้น
ด้านการเผยแพร่ผลงานสอดคล้องกับครูผู้สอน คือ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปจัดป้ายนิเทศหรือจัดนิทรรศการหรือนำไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
ด้านประโยชน์ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อนักเรียนสอดคล้องกับครูผู้สอน ซึ่งนักเรียนเห็นว่ามีประโยชน์มากไม่อยากให้ลืมประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตนเอง อยากให้มีความภูมิใจและรักในถิ่นฐานเดิมของตนเอง และมีส่วนร่วมในการสืบทอดหรือการอนุรักษ์ไว้
ด้านข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนสอดคล้องกับครูผู้สอนนักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า อยากให้พาไปเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนอกสถานที่โดยพาไปเรียนรู้ในสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจริงๆ การเรียนรู้อยากให้เรียนรู้และทำงานเป็นกลุ่มเพราะจะได้ช่วยกันทำช่วยกันคิดช่วยกันค้นคว้า ช่วยกันวิเคราะห์ งานจะเสร็จและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3 การศึกษาแนวคิด
ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม กลุ่มพุทธินิยม ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และทฤษฎีการสร้างความรู้ และแนวคิดการจัดการความรู้
4. กระบวนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้มีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิด การจัดการความรู้ 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparatory stage for learning: P)
ขั้นที่ 2 การออกแบบการจัดการความรู้ (Knowledge management design: K)
ขั้นที่ 3 การเรียนรู้สิ่งใหม่โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบันจากการปฏิบัติ (Active Linked Learning: A)
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ (Exchange of knowledge for new knowledge: E)
ขั้นที่ 5 การสร้างและจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (Constructing and Organizing Knowledge: C)
ขั้นที่ 6 การประเมินผลและการประยุกต์ใช้ (Assessing and Applying: A)
5. หลักการของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 มีหลักการว่า การเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มจากความรู้ที่ฝังลึกจนได้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของนักเรียนเปลี่ยนเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งด้วยกระบวนการปฏิบัติจริง
6. วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรียกว่า PKAECA Model มีองค์ประกอบคือ
1) หลักการ
2) วัตถุประสงค์
3) กระบวนการจัดการความรู้
4) การวัดและประเมินผล
5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้
2.2 ตรวจสอบความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-= 5.00, S.D. = 1.00)
.
ตอนที่ 2 ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดยโสธรพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความสามารถในการจัดการความรู้พบว่านักเรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-= 4.76, S.D. = 0.42)
3. ความสามารถในการจัดการความรู้จากชิ้นงาน และภาระงานที่ต้องปฏิบัติ ตามรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการจัดการความรู้จากชิ้นงาน และภาระงานที่ต้องปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-= 4.76, S.D. = 0.42)