การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed Methods Design) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อการตอบคำถามการวิจัยให้คลอบคุลมวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการร์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัยไปใช้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกำหนดกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ต่อเนื่องตามกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดประสบการณ์เป็นครูปฐมวัย 6 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 1, 2 และ 3 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล ในภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test Dependent Samples) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การดำเนินการวิจัยสามารถสรุปผลการวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย เรื่อง ปรากฏผลดังนี้การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองคฺประกอบของทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า โดยพิจารณาระดับพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้
1.1 ทักษะการค้นพบความจริง (Fact-Finding Skills) หมายถึง ระดับความสามารถในการค้นหาข้อมูลจากสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในสถานการณ์ วัดได้จากระดับพฤติกรรมบอกข้อมูลจากสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
1.2 ทักษะการค้นพบปัญหา (Problem-Finding Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสามารถในการระบุสาเหตุของปัญหา ที่เกิดจากสถานการณ์อื่นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
1.3 ทักษะการค้นพบแนวคิด (Idea -Finding Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมการหาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาที่เป้นไปได้มากที่สุด และแนวโน้มนำไปแก้ปัญหาได้จริง 1.4 ทักษะการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา (Solution-Finding Skills) หมายถึง ความสามารถในการเสนอเกณฑ์หรือแสดงเหตุผลในการต้ดสินใจเลือกแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
1.5 ทักษะการสร้างสรรค์ความรู้(Creating new knowledge Skills) หมายถึง ระดับพฤติกรรมในการนำความรู้ หรือข้อมูลจากคำตอบของปัญหามาสร้างความรู้ใหม่ โดยมีการเชื่อมต่อกับสถานการณ์อื่นๆ และมีแนวโน้มในการนำไปปฏิบัติจริงได้
แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน 7 ขั้นตอนร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิครูปแบบการสืบสวนเป็นกลุ่ม (Group Investigation: GI) และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยการใช้เทคนิคการสอนที่กระตุ้นพัฒนาการหลากหลายวิธี เช่น การใช้คำถามปลายเปิด การใช้สื่อและภูมิปัญญท้องถิ่นที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับเด็กปฐมวัย ประกอบการสำรวจ สืบค้น และทดลองตามกระบวนการเรียนแบบโครงงาน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ผลดังนี้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย ขั้นตอนรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับกระบวนการเรียนแบบร่วมมือและภูมิปัญญาท้องถิ่น จนได้ผลการค้นพบว่าเป็นวิธีการสอนที่ช่วยส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย (PCLKK) ประกอบด้วย การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : P ) ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบการสืบสวนเป็นกลุ่ม (Cooperative Learning : C) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local knowledge : LK) สำหรับเด็กปฐมวัย (Kindergarten :K) โดยมีขั้นตอนในการจัดประสบการณ์จำนวน 7 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 ขั้นการสำรวจ หมายถึง การสังเกต การสำรวจข้อมูล และทำความเข้าในในสถานการณ์ และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์
ขั้นที่ 2 ขั้นกระตุ้นคิด หมายถึง การที่ครูกระตุ้นความคิดของนักเรียนโดยการใช้คำถามที่ยั่วยุ กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดอย่างอิสระ เพื่อให้นักเรียนระบุปัญหาที่ต้องการสืบค้น
ขั้นที่ 3 สืบค้นและรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเสาะแสวงหาข้อมุลจากแหล่งข้อมูลด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์ การค้นอินเทอร์เน็ต
ขั้นที่ 4 ขั้นทดลอง หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น มาวิเคราะห์วิธีการสดลอง นำข้อมูลมาทำการทดลอง
ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผลการทดลอง หมายถึง การนำผลการทอลองมาสรุปผล วิเคราะห์ผล แปลผล ตามแนวทางโครงงาน โดยความร่วมมือ
ขั้นที่ 6 ขั้นอภิปรายผล หมายถึง การนำสรุปผลการทดลอง มาวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 7 นำเสนอผลการทดลอง หมายถึง การนำเสนอผลการทลอง กระบวนการและขั้นตอนการทำงานทั้งหมด
3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้ผลดังนี้
3.1 ผลการตรวจสอบเพื่อยืนยันความเหมาะสมของโครงร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พิจารณาได้ผลการประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวม ได้ค่าเท่ากับ 0.74 ซึ่งแสดงว่ามีความเหมาะสม และความสอดคล้องที่มีค่าสูง สามารถนำไปใช้ได้
3.2 ผลการตรวจสอบเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 2 ประเภท ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก่ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.82 เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้ และเครื่องมือประเมินผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย แบบประเมินครูปฐมวัย ได้แก่ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจของครูปฐมวัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.80 แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.73 แบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.78 แบบประเมินความคิดเห็นของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ ได้ค้าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.88 แสดงว่าเครื่องมือประเมินครูปฐมวัยทุกแบบประเมินมีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้ สำหรับแบบประเมินเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ได้ค่าเท่ากับ 0.87 แสดงว่าเครื่องมือประเมินความสามารถเด็กปฐมวัยมีความสอดคล้อง สามารถนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ได้
3.2 ผลการศึกษานำร่อง ประกอบด้วย ผลจากการพัฒนาครูปฐมวัย จำนวน 6 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล พบว่าครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก ( =18) ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มากทุกรายการ ( = 2.75, S.D = 0.31) มีความสามารถในการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มาก ( = 2.60, S.D = 0.59) และมีความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ อยู่ในระดับ มาก ( = 2.77, S.D = 0.38) ซึ่งสรุปผลจากการพัฒนาครูปฐมวัยพบว่า มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์อยู่ในระดับมาก แสดงว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ได้ ด้านผลการประเมินเด็กปฐมวัยระหว่างศึกษานำร่อง นักเรียนอนุบาลปีที่ 1-3 ชั้นเรียนละ 10 คน รวม 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนอนุบาลกันตวจระมวล จังหวัดสุรินทร์ ผลการประเมินพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยรวม อนุบาล 1 อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.21,S.D=0.51) อนุบาล 2 อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.42, S.D=0.48)อนุบาล 3 อยู่ในรดับ มาก( =2.63,S.D =0.46)
4. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ให้ผลดังนี้
4.1 ผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย สูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติ .05
4.2 ผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงานผสานความร่วมมือร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย กับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้รับการจัด