ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิค
วิธีสอนแบบเชิงรุก(Active Learning)ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวอรวรรณ ปราบสูงเนิน ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และ จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 35 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน คู่มือการใช้รูปแบบ หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสถิติร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย( ) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน(S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า
1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีชื่อว่า SCIENCE APPLY Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นเองอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ ด้วยการสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยี ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่โดยมีครูทำหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ 1.ตรวจสอบความรู้เดิมและกระตุ้นผู้เรียน(Stimulation: S Consideration and Cause: C) 2.สำรวจและค้นหา(Inquiry: I) 3.อธิบายลงสู่ข้อสรุป(Discussion and Note: N,Conclusion: C) 4.ขยายความรู้(Elaboration: E)
5.ตรวจสอบประเมินผล(Evaluation :E) 6.การนำไปใช้สู่การสร้างนวัตกรรม (Apply to create innovation) 4)การวัดและประเมินผล 3 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และด้านจิตวิทยาศาสตร์ และ5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยี มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน โดยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/80.21
2.ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม หลังใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับสูง 2.3) จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2.4) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิควิธีสอนแบบเชิงรุก (Active Learning) ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านในภาพรวมพบว่า ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่กับการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ในด้านต่าง ๆ ของตนเองเนื่องจากกิจกรรมในห้องเรียน เป็นการทำกิจกรรมกลุ่ม มีสื่อการเรียนรู้ให้ศึกษาได้ทุกที่ ทุกเวลาและยังสามารถแก้ปัญหาการขาดเรียนได้