ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษาค้นคว้า สุทัตตา บุญเลี้ยง
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสนฑ์ สังกัดเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี ความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัย ในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กับเกณฑ์ร้อยละ 75.00 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสนฑ์ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสนฑ์ จานวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดย จานวน 10 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จานวน 10 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ ค่าอานาจจาแนก
รายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.63 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 4) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จานวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.31 0.75
และค่าอานาจจาแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.25 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความปลอดภัย
ในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จานวน 20 ข้อ มีค่าอานาจจาแนก (r) ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .874 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ
85.64/85.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง สุขภา พและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.21 คิดเป็นร้อยละ 81.04 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ของโรงเรียนตั้งแต่ร้อยละ 75
ขึ้นไป
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดเกาะตะเคียน (วาสน์วิทยานุกูล)
มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยใน
ชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ที่สุด (X =4.68 , S.D. = 0.49)
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สุขภาพและความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการ
เรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเหมาะสมทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเพิ่มขึ้น มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ดี สามารถทาให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้
อย่างเป็นระบบ มีโอกาสพัฒนาสมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
และมีประสิทธิภาพ และมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด ดังนั้น ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ควรให้ความสนใจที่จะพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ต่อ
ผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนต่อไป