การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ
(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน
อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 24 คน ซึ่งเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะ
การเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 4 ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว
เพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 แผน ใช้เวลาสอน 20 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ และ
(4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว จำนวน 10 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ค่าประสิทธิภาพ E1/E2
ค่าความเชื่อมั่น ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test dependent
ผลการศึกษา พบว่า
1. ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 86.31/85.31 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบความรู้ความเข้าใจโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไป
ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ความพึงพอใจของนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนว
เพื่อพัฒนาทักษะการเลือกแนวทางศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว
อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้