การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2)หาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบ 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทรัพยากรที่รัก ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ 4) ศึกษาความสามารถการคิดผลิตภาพของนักเรียน 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านศาลากันตง) กองการศึกษาเทศบาลเมืองสตูล ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรที่รัก แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินทักษะการคิดผลิตภาพ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมติฐานใช้ t- test (dependent sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า BATIK Modelประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขั้นที่ 1 เสริมสร้างประสบการณ์ Begin the experience (B)เสริมสร้างประสบการณ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นตอนย่อยที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นตอนย่อยที่ 2 กำหนดปัญหาเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ขั้นตอนย่อยที่ 3 วิเคราะห์ประสบการณ์ด้วยการทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 2 ผสานความรู้ด้วยการค้นคว้า Ascertainment (A) ขั้นตอนย่อยที่ 1 ค้นคว้าความรู้ ขั้นตอนย่อยที่ 2 สรุปความรู้จากการค้นคว้า
ขั้นที่ 3 ตั้งเป้าหมายและวางแผนการดำเนินงาน Target and planning (T) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นตอนย่อยที่ 1ตั้งเป้าหมาย ขั้นตอนย่อยที่ 2ออกแบบและวางแผนการทำงาน ขั้นที่ 4 สร้างสรรค์และประเมินผล Innovative and evaluating (I) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ขั้นตอนย่อยที่ 1 สร้างชิ้นงาน สร้างชิ้นงานตามความถนัดนักเรียนสร้างสรรค์ชิ้นงาน ขั้นตอนย่อยที่ 2 วิเคราะห์ผลงาน ขั้นที่ 5 สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ Knowledged society (K) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ขั้นตอนย่อยที่ 1รายงานผลการดำเนินงาน ขั้นตอนย่อยที่ 2สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.81
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ทรัพยากรที่รัก วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรที่รัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. นักเรียนมีความสามารถการคิดผลิตภาพสูงกว่าร้อยละ 70
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT ร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดผลิตภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด