บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน จำนวน 15 แผน จำนวน 15 ชั่วโมง5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องทศนิยมและเศษส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย(X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ทดสอบค่าที (t-test)แบบ Dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เห็นความสำคัญและต้องการให้มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PPSSE Model ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation Step: P)ขั้นตอนที่ 2 ขั้นแก้ปัญหา (Problem Solving Step: P) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุป (Summary Step: S)ขั้นตอนที่ 4 ขั้นฝึกทักษะ (Skill Training Step: S) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินผล (Evaluate Step: E)ค่าประสิทธิภาพ (E_1/E_2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 80.94/81.88 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการเรียนรู้จำนวน 15 แผน รวม 15 ชั่วโมง
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมและเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านที่นักเรียนพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้