ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
บูรณาการตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
และความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย : นางวิทยาภรณ์ หนูไข่
ปีที่วิจัย : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ. 1. เพื่อพัฒนาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3. เพื่อประเมินทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4. เพื่อประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนหลังเรียนรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1).รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 5) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางเรียน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Dependent Sample และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นมี มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการการเรียนการสอนตามรูปแบบ 3P4S Model ประกอบด้วย 1.ขั้นกำหนดปัญหา (Problem : P) 2.ขั้นการแสวงหาความรู้ (Self-reliance : S) 3.ขั้นวางแผนการทำงาน(Plan : P) 4.ขั้นการทำงานและ การแก้ปัญหา (Solve-problem : S) 5.ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน (Performance evaluation : P) 6.ขั้นการพัฒนาตนเองและคุณภาพชีวิต (Self-Development : S) 7.ขั้นการพึ่งพาตนเอง (Self-reliance : S) สาระความรู้และสิ่งที่ส่งเสริม การเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.88/82.66
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อน และหลังเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
4. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
5. นักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด สะเต็มศึกษาบูรณาการตามศาสตร์พระราชาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด