ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC)
ผู้วิจัย นางสาวอิชยา โอฬา
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) จำนวน 3 คน หัวหน้าวิชาการ 1 คน หัวหน้ากิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ 8 คน และบุคลากรครูโรงเรียนเมืองพัทยา 4 (วัดหนองใหญ่) จำนวน 40 คน ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จำนวน 10 คน นักการศึกษา จำนวน 2 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิดการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามเพื่อการประเมินกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) พบว่า ทั้งบุคลากรครูและนักเรียนเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) โดยมีความเห็นร่วมกันว่าควรเน้นกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนค่านิยม วิสัยทัศน์ การร่วมมือรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน การร่วมมือรวมพลังให้ความสำคัญต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ และการสนับสนุนการจัดลำดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากร
2. กระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า UREA Model มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ เข้าใจ (Understanding : U) เข้าใกล้ (Reach : R) เข้าร่วม (Engage : E) และ เข้ากัน (Appreciate : A) ผลการประเมินความเหมาะสมของร่างกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ โดยผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้กระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC)
3.1 ประสิทธิผลของกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) พบว่า โดยรวมประสิทธิผลของกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างฯ โดยภาพรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก
3.2 ความพึงพอใจต่อกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินกระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า กระบวนการบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) มีความเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก