เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายบรรจง หอธรรมกุล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลัง (The One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 79 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 27 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ
ผู้วิจัยได้กำหนดรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (R1 : Research) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (D1 : Development) : การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (R2 : Research) : การทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ ขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (D2 : Development) : การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสื่อประกอบ มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ (4.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (4.2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ จำนวน 4 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้แบบระบบกลุ่มเป็นแบบปฏิบัติ จำนวน 1 ข้อ แบบสอบถามที่ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบสัมภาษณ์เป็นการถามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ และสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของนักเรียนและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เห็นความสำคัญต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผลการวิเคราะห์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ ที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียน เนื้อหา เรื่อง รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก ใช้เวลา 14 ชั่วโมง (รวมการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน) ประกอบด้วยเนื้อหา การผูกเงื่อนด้วยเชือกที่มีขนาดเดียวกัน การผูกเงื่อนด้วยเชือกที่มีขนาดต่างกันและการทำเป็นบ่วง การผูกเงื่อนด้วยเชือกกับวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งและวิธีการผูกแน่น และ การประยุกต์ใช้งานของเงื่อนเชือก และใช้การจัดการเรียนรู้แบบแบบกลุ่มร่วมมือขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นเตรียมเรียนรู้ (Preparing to learn) ขั้นเรียนรู้สิ่งใหม่ (Learn something new) ขั้นคิดและคุยกัน (Think Pairs Share) ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้ (The process of summarizing and organizing knowledge) ขั้นการแสดงผลงาน (Show the work) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (The application of knowledge)
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 พบว่า ผลการการเรียนระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.40 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.40 แสดงว่าประสิทธิภาพ 86.40/87.40 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 85/85
ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 14 ชั่วโมง (รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน) จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ พบว่า ผลการการเรียนระหว่างเรียน (E1) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.19 และผลการทดสอบหลังเรียน (E2) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.44 แสดงว่าประสิทธิภาพ 88.19/88.44 เป็นไปสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 85/85
ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลดังนี้
ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าความสามารถในการเรียนรู้แบบระบบกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ รอบรู้เรื่องเงื่อนเชือก เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แบบระบบกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยในระดับดีมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ระดับความคิดเห็นเท่ากับด้านประโยชน์ที่ได้รับ ดี และให้นักเรียนเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้ชุดกิจกรรมเป็นสื่อประกอบ