ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาวมาเรียม ลูกสะเดา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เทศบาลเมืองสะเดา
ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาความสามารถทักษะการอ่านจับใจความที่พัฒนาขึ้น ด้วยรูปแบบการจัดกระบวนเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ สูงกว่าร้อยละ 80 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกระบวนเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านสะเดา ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบหลังทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการอ่านจับใจความ แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1.พัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นการตื่นตัว ขั้นที่ 3 ขั้นการทำซ้ำ ขั้นที่ 4 ขั้นการล่อใจ ขั้นที่ 5 ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นที่ 6 ขั้นการสรุปแบบแผนผังความคิด 4) การวัดและประเมินผล ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2) ของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ เท่ากับ 82.43/85.11 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2.นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในทักษะการอ่านจับใจความ หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 85.11 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80/80 และเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสามารถอยู่ในระดับสูง
3.นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด
4.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒