ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD)
ผู้ศึกษา นายวิกรมณ์ ศิริเมือง
สถานศึกษา โรงเรียนดงสวางวิทยายน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยโพธิ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัด
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) ในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย
เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) 3) เปรียบเทียบคะแนนการทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดงสวางวิทยายน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน 21 คน
เป็นห้องที่ผู้ศึกษาปฏิบัติหน้าที่สอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) จำนวน 14 แผน แผนละ
1 ชั่วโมง เวลา 14 ชั่วโมง แผนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 2 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง
รวมเวลาทั้งหมด 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ
มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.60 - 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.30 0.73 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.41 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (แบบ Dependent Samples) ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) (E1)/(E2) เท่ากับ 82.64/82.14
สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง
ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.7180 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 71.80
3. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด