ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ราตรี คงรุ่ง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
บทคัดย่อ
ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 4 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2560 ม.2/3 จำนวน 24 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2)แผนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 23) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง แสง เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งใช้สำหรับทดสอบนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาครูและผู้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สรุปผลการศึกษา
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 87.40/97.23เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.25และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 29.17คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ13.92 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 46.39เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้ t test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2
3. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.84
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า
1.ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารและครู ที่เป็นตัวแทนภาควิชาการ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00
2. ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29
สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด นั่นแสดงว่า ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้เกิดความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ความสำคัญของการจัดการศึกษาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560: 24-25)
จากทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามกรอบของกฎหมาย และนโยบายการปฏิบัติราชการโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายใต้วิสัยทัศน์ไว้ว่า วิชาการก้าวหน้า คุณธรรมพัฒนา รักษามรดกไทย ทันสมัยไอทีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ไว้ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภาคบังคับให้ได้ทั่วถึงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมีกลยุทธ์1.1) ส่งเสริมจัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 1.2) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.3) ส่งเสริมการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นชอบ1.4) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้วยการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในการพัฒนาการศึกษา 2) ยุทธศาสตร์ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีกลยุทธ์ 2.1) ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนโดนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกกลุ่มสาระและให้ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วม 3) ยุทธศาสตร์การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ มีกลยุทธ์ 3.1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3.2) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น3.3) ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น4) ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นปัจจุบันมีกลยุทธ์4.1) ส่งเสริมจัดทำข้อมูลพื้นฐานของครูและนักเรียน 5)ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาทุกกลุ่มสาระมีกลยุทธ์5.1) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ6) ยุทธศาสตร์ ผลิต และพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกลยุทธ์6.1)ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี 7) ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณีและศึกษาแหล่งเรียนรู้ มีกลยุทธ์7.1)ส่งเสริมกิจกรรมความสำคัญทางศาสนา งานประเพณีและจัดให้มีการทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น 8) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการกีฬา นันทนาการและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีกลยุทธ์8.1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี พลานามัยดีและพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อภายในโรงเรียนให้สะอาด(แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล : 2-3)
จากความสำคัญที่กล่าวมาดังกล่าววิทยาศาสตร์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสังคมในยุคเทคโนโลยี 4.0 เป็นความสำคัญในการพัฒนาบุคคลได้อย่างมีเหตุผลสามารถ นำความรู้ที่เกิดจากพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัยมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนบนรากฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ติดตัวมาก่อนที่จะเข้าสู่ห้องเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากบริบทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวนักเรียนแต่ละคน ดังนั้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน ผู้สอนจะต้องเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและความอยากรู้ของตนเองโดยมีผู้สอนเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจ คอยจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่างประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ความรู้ใหม่ ผู้เรียนจะพยายามปรับข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีอยู่เดิม แล้วสร้างเป็นความรู้ใหม่หรือแนวคิดใหม่ ๆ ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนจะเกิดขึ้นที่สมอง ซึ่งทำหน้าที่รู้คิด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและได้รับการกระตุ้นจูงใจอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพจิตใจและความต้องการของนักเรียน การจัดกระบวนการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนจะช่วยกระตุ้นให้สมองรับรู้และสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2553: 3)
ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล เทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปีการศึกษา
2559 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 26 คน ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ ว.5.1
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสาร
และพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสาร
สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง แสง มาตรฐานตัวชี้วัด 2/3 ทดลอง
และอธิบายการดูดกลืนแสงสี การมองเห็นสีของวัตถุ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์จำนวน 19 คน
คิดเป็นร้อยละ 73.08 โดยผู้ศึกษาได้วิเคราะห์แยกแยะสภาพปัญหาของผู้เรียน บริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ.2559 ประเด็นนักเรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนไม่บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย มีปัญหาดังนี้ 1) นักเรียนไม่มีความสนใจในเนื้อหา และไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) การเรียนรู้ที่ผ่านการดำรงชีวิตของนักเรียนที่เรียนตามบทเรียนที่ผ่านมาไม่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้เรื่อง แสง และ 3) นักเรียนไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ที่ต้องหาคำตอบให้กับปัญหาด้วยตนเอง อีกทั้งยังไม่เข้าใจใช้ประโยชน์จากกระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ จึงทำให้นักเรียน มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ในสาระวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาและการพัฒนาออกแบบสร้างนวัตกรรมผู้ศึกษา พบว่า ชุดกิจกรรม หรือ ชุดการสอน คือ การรวบรวมสื่อการสอนสำเร็จรูปให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองเป็นรายบุคคลหรือ เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ด้วยความสะดวกสบาย เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนของครูและส่งเสริมการเรียนของนักเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้โดยเปิดให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมจากชุดการสอนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสามารถของ แต่ละบุคคลทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการฝึกทักษะในด้านต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2553: 43) และสื่อการสอนเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สอนช่วยในการสื่อสารกับผู้เรียนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในสื่อการสอนนั้นจะต้องมีการออกแบบและวางแผนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ตอบสนองตัวชี้วัดและหลักสูตรของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สื่อการสอนสามารถนำมาใช้สอนได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้สอนที่นำชุดการสอนไปใช้สามารถนำไปใช้ได้และสามารถตอบสนองตัวชี้วัดได้ด้วย ถือว่าชุดการสอนนั้นเป็นนวัตกรรมชนิดหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (สุคนธ์ สินธพานนท์, 2553: 13) และชุดการสอนเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเน้นตามวัตถุประสงค์ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2557: 147-152) ประโยชน์ของ ชุดการสอน กล่าวคือ เป็นสื่อ การสอนที่มีคุณภาพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการค้นพบ นักเรียน มีโอกาสฝึกปฏิบัติและแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสารตามศักยภาพของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มความสามารถโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ทิศนา แขมมณี, 2553: 15) ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมามีทฤษฎีการเรียนรู้ใหม่ ๆเกิดขึ้นหลายทฤษฎีแต่ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นักการศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจกันมากได้แก่ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism learning theory) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้องกับ การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดคือเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้สร้างความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่รับเข้ามาใหม่ด้วยเหตุผลนี้ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ควรเป็นห้องเรียนที่ครูเป็นผู้จัดการทุกสิ่งทุกอย่างโดยนักเรียนเป็นฝ่ายรับแต่ต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเองสร้างความรู้ที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจของตนเองและมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดจากแนวคิดนี้มีอยู่หลายรูปแบบเช่นการเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบช่วยเหลือกันการเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นต้น (มัณฑราธรรมบุศย์. 2545 : 12) โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของกรกฎลำไยและคณะ (2552 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.50/84.17 ซึ่งกรรณิกา อุดหนุนกาญจน์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พรรณไม้ในวรรณคดีไทยตามรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดและพิจิตรอุตตะโปน (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานศึกษาผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรปีการศึกษา 2548 ที่ได้จากการอาสาสมัครจำนวน 16 คนผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยชุดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไปของคะแนนเต็มเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ระดับนัยสำคัญที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในระดับมากจากแนวคิดการให้ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ศึกษาได้นำมาใช้เป็นแนวทางในกระบวนการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต้องอาศัยรูปแบบการสอนที่มีความเหมาะสม สนใจ ใฝ่รู้ เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข และสิ่งสำคัญทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่คงทน เนื่องจากผู้เรียนได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ด้วยตนเองจึงเป็นแนวคิดที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ศึกษาต้องการหาวิธีการ หาเทคนิคการสอนเพื่อที่จะทำให้นักเรียนสนใจและอยากรู้ อยากเรียนวิทยาศาสตร์ เนื่องมาจากพบปัญหานักเรียนไม่สนใจเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ จึงหาข้อสรุปความคิดของตนเองได้ว่าจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการที่เหมาะสมกับผู้เรียนมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วง 25 ปี
ที่ผ่านมาเป็นวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างไปจากวิธีดั้งเดิมที่เน้นตัวสาระความรู้และมุ่งเน้นที่ผู้สอนเป็นสำคัญแต่ที่ต่างออกไปคือการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นใช้นักเรียนเป็นสำคัญโดยมุ่งที่ใช้ปัญหาจริงหรือสถานการณ์จำลองเป็นตัวเริ่มต้นกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิจารณญาณในขณะที่นักเรียนทำงานโดยใช้ปัญหาเป็นศูนย์กลางหลังจากที่นักเรียนได้ใช้ความรู้
พื้นฐานในการทำความเข้าใจและอธิบายแนวคิดต่อปัญหานั้นแล้วสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัญหาซึ่งนักเรียนไม่เข้าใจจะเป็นประเด็นที่ต้องเรียนรู้ต่อไปเพื่อให้ได้ความรู้มาอธิบายและแก้ปัญหาโดยนักเรียนจะพัฒนาแผนการเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อการเรียนรู้ในส่วนย่อยๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่เข้าใจในปัญหาในการสืบค้นนักเรียนจะได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มให้ทำการสืบค้น (พวงรัตน์บุญญานุรักษ์; และMajumder. 2544 : 42) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจะเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบทของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหารวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ปัญหาเป็นหลักวอลตันและแมททิวส์ได้สรุปถึงประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานไว้ว่าช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันเสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้นส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้นสนับสนุนความร่วมมือในการเรียนมากกว่าการแข่งขันช่วยให้นักเรียนเกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชา (Walton; & Matthews. 1989 : 456-459) นอกจากนี้การสอนที่มีผู้สอนเป็นศูนย์กลางไม่สามารถสอนสาระที่จำเป็นต้องเรียนได้หมดแต่การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนเลือกสรรสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้รับความรู้ใหม่จากการศึกษาค้นคว้าด้วยการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เรียนรู้จักการตัดสินใจการให้ความเห็น
การพัฒนาความคิดใหม่ๆและความกระตือรือร้นต่อการเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างบูรณาการนอกจากนี้การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานยังเน้นถึงการเรียนรู้ส่วนร่วมจากกลุ่มการใช้พลวัตกลุ่มซึ่งทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพที่มีความเป็นตัวเองมีความคิดริเริ่ม คิดเป็นมีความมีน้ำใจกล้าที่จะเผชิญปัญหาและใช้หลักการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลรวมทั้งเป็นการฝึกฝนนิสัยการศึกษาค้นคว้าซึ่งเป็นพฤติกรรมจำเป็นของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (กุลยาตันติผลาชีวะ. 2548 : 79 - 80)สอดคล้องกับงานวิจัยของกอบวิทย์พิริยะวัฒน์ (2554 : 73)ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งผล การศึกษาของจิราวรรณสอนสวัสดิ์ (2554 : 69) ที่ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และบุญนำอินทนนท์ (2551 : 79) ได้ทำการวิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
จากที่มาและความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างความคิดวิเคราะห์ เสริมสร้างพลังความคิดในการฝึกกิจกรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นความคิดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์นำไปสู่การอธิบายการแก้ปัญหาหรือการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาและเชื่อมโยงความรู้ที่จะนำไปใช้แก้ไขปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งผลทำให้ เกิดการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล และเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์และคุณค่า ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สมมติฐานของการศึกษา
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด
ขอบเขตของการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตดังนี้
1. ขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน วิชา วิทยาศาสตร์ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 102 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ม.2/3 จำนวน 24 คนได้มาจาก
การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
2. ขอบเขตของเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระ
ที่ 5 สาระพลังงาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล เรื่อ แสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยทั้งหมด 5 เรื่อง รวม 22 ชั่วโมง ดังนี้
เล่มที่ 1 การสะท้อนของแสงและภาพที่เกิดจากการสะท้อนจำนวน 6 ชั่วโมง
เล่มที่ 2 แสงและการหักเห จำนวน 6 ชั่วโมง
เล่มที่ 3 เลนส์และการเกิดภาพ จำนวน 5 ชั่วโมง
เล่มที่ 4 เส้นใยนำแสงและเลเซอร์ จำนวน 2 ชั่วโมง
เล่มที่ 5 ความสว่างและการมองเห็น จำนวน 3 ชั่วโมง
3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
3.1ตัวแปรต้น (Independent Variable) ได้แก่การจัดการเรียนรู้โดยใช้
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่
3.2.1 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)
สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3.2.3 ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21
เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21
เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ใช้เวลาในการสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 20 ธันวาคม 2560 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 22 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2.แผนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21
เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง แสง เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งใช้สำหรับทดสอบนักเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาครูและผู้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ผู้ศึกษาใช้สูตรหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ย / สำหรับการศึกษาครั้งนี้ใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Posttest) โดยใช้สถิติทดสอบ t-test Dependent
3.ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 3 วิเคราะห์ผลคะแนนระดับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถิติพื้นฐานด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
อภิปรายผลการศึกษา
ผลจากการศึกษาที่นำเสนอข้างต้น มีข้อค้นพบที่สามารถนำมาอภิปราย ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
คือ 80/80
จากผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 87.40/97.23เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1 ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ในครั้งนี้มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดแก้ปัญหาผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นความคิดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์นำไปสู่การอธิบายการแก้ปัญหาหรือการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสำคัญในการต่อยอดการพัฒนา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สามารถสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมสามารถแก้ปัญหาและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีสื่อการเรียน ใหม่ ๆ ที่ช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนของนักเรียนและช่วยใน การสอนของครู เป็นสื่อการสอน เป็นเทคนิคสำคัญที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เปลี่ยนจากครูที่เคยเป็นผู้แสดง เปลี่ยนไปเป็นยึดนักเรียนเป็นผู้แสดง ซึ่งการอธิบายของครูที่ทำให้นักเรียนเข้าใจว่าเมื่อเรียนเรื่องนั้น ๆ แล้วจะต้องมีความสามารถอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ การเสริมแรงทั้งการเสริมแรงภายนอก เช่น สิ่งของ การกล่าวติชม หรือการเสริมแรงภายในตัวนักเรียนเอง เช่น ความอยากรู้อยากเห็น การให้ข้อมูลย้อนกลับและการแก้ไขข้อบกพร่อง จะต้องมีการแจ้งผลการเรียนและข้อบกพร่องให้นักเรียนทราบอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้น ยังสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน โดยปัญหาจะถูกเสนอให้นักเรียน เป็นอันดับแรกในขั้นของการเรียนรู้ ปัญหาที่ใช้ในการเรียนรู้จะเป็นปัญหาที่เหมือนกับปัญหาที่นักเรียนสามารถพบในชีวิตจริง นักเรียนได้ทำงานเป็นทีมในการแก้ปัญหาโดยมีอิสระในการแสดงความสามารถในการให้เหตุผลการประยุกต์ใช้ความรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเองที่เหมาะสมกับขั้นตอนของการเรียนรู้ในแต่ละขั้น เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีขั้นตอนในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นแนวทางในการกำหนดกระบวนการทำงานเพื่อแก้ปัญหา ความรู้และทักษะที่ต้องการให้นักเรียนได้รับจะเกิดหลังการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่ใช้ความรู้และทักษะเหล่านั้น การเรียนรู้ จะประกอบด้วยการทำงานในการแก้ปัญหาและการศึกษาด้วยตนเองโดยมีลักษณะที่บูรณาการ ทั้งความรู้ที่นักเรียนมีและทักษะกระบวนการเข้าด้วยกัน โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของกรกฎลำไยและคณะ (2552 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2มีประสิทธิภาพ 82.50/84.17 สอดคล้องกับจารุวรรณพุ่มทิศ (2553 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.50/84.17 และจารุวรรณเกษสุวรรณ (2554 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานหน่วยการเรียนรู้เรื่องมหัศจรรย์แห่งน้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานหน่วยการเรียนรู้เรื่องมหัศจรรย์แห่งน้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 83.05/80.73
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนซึ่งสนับสนุนสมมติฐานข้อที่ 1 คือชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและ หลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษ ที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จากผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 15.25และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 29.17คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ13.92 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 46.39เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้ t test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 2ทั้งนี้อันเนื่องมาจากนักเรียนมีโอกาสได้แสวงหาคำตอบโดยอาศัยวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบต่างๆมีการเรียงลำดับขั้นตอนซึ่งแสดงให้เห็นความสำคัญของขั้นตอนการแก้ปัญหาแต่ละขั้นและรวบรวมความรู้ใช้ในการอธิบายข้อสงสัยจนได้ข้อสรุปเป็นคำตอบของปัญหานั้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของบุญนำอินทนนท์ (2551 : 79) ได้ทำการวิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และงานวิจัยของอุไรคำมณีจันทร์ (2552 : 81) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งงานวิจัยของวรรณภาชื่นนอก (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลงานวิจัยของสุภามาสเทียนทอง (2553 : 75) ได้ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับสูงและมีผลการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้และมีความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับเห็นด้วยมากและจากงานวิจัยของจิราวรรณสอนสวัสดิ์ (2554 : 69) ที่ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งงานวิจัยของกอบวิทย์พิริยะวัฒน์ (2554 : 73)ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์พบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชั่นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของพรรณพรนามโนรินทร์และคณะ (2555 : 87) ที่ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-basedlearning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองโกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนสูงขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่กำหนดไว้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
จากผลการศึกษา พบว่า พบว่า ภาพรวมระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับพอใจมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.84เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารและครู ที่เป็นตัวแทนภาควิชาการ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 2) ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs)สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด นั่นแสดงว่า ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำให้เกิดความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในครั้งนี้ผู้บริหาร ครูและผู้ปกครอง มีความสนใจในนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อตอบให้เหมาะสม ในยุคศตวรรษที่ 21 มีความคาดหวังที่จะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดผ่านกระบวนการใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่อย่างสร้างสรรค์ เกิดผลสะท้อนที่วัดได้ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเกิดคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนได้ตามความต้องการ ซึ่งผู้ศึกษามุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการ โดยผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองของนักเรียน มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ค้นหาคำตอบจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ได้มีโอกาสหาความรู้จากผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้มีส่วนสนับสนุนให้ความร่วมมือในการแสวงหาและให้ข้อมูลในขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ เชื่อมโยงความรู้เดิมที่ได้จากโรงเรียนกับประสบการณ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้อง
กับแนวคิดของบรรเจิดศุภราพงศ์ (2556 : 43) ที่กล่าวถึงแนวคิดความพึงพอใจว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจอารมณ์ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สามารถมองเห็นรูปร่างได้นอกจากนี้ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกด้านบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความคาดหวังหรือเกิดขึ้น
ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการให้แก่บุคคลได้ซึ่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามค่านิยมและประสบการณ์ของบุคคลทั้งนี้ความพึงพอใจจึงสามารถนาใช้ในการวัดระดับความพึงพอใจกับปัจจัยอื่นที่ใช้ในการศึกษาเช่นความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของกันยา กันต์สุข (2551 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสร้าง ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงคู่ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ผลการศึกษาพบว่า การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเป็น 88.57/92.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 และความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับพลภัทร พองโนนสูง (2550 : บทคัดย่อ) ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและสอดคล้องกับผลการศึกษาของกรรณิกา อุดหนุนกาญจน์ (2553 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พรรณไม้ในวรรณคดีไทยตามรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดนอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของปริญดาหอมสวัสดิ์ (2555 : 51) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่าผู้ปกครองมีความต้องการให้โรงเรียนมีการพัฒนาในด้านวิชาการหลักสูตรด้านบุคลากรคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนด้านการบริการนักเรียนด้านการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อที่เด็กจะได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถมีการพัฒนาด้านร่างกายอารมณ์สังคมจิตใจและสติปัญญาตลอดจนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป
จากผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เกิดทักษะการคิดแก้ปัญหาผ่านกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นความคิดที่ผ่านการคิดวิเคราะห์นำไปสู่การอธิบายการแก้ปัญหาหรือการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่คงทนตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีความสำคัญในการต่อยอดการพัฒนา ที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ครูผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เมื่อนำ ชุดกิจกรรมดังกล่าวไปใช้กับนักเรียนกลุ่มใหม่ ควรสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน ว่าสามารถทำกิจกรรมได้สำเร็จ หาคำตอบให้กับปัญหาที่นักเรียนต้องการรู้ได้จริงหรือไม่ อย่างไร เน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือกันในระบบกลุ่ม ความรับผิดชอบต่อตนเอง และความรับผิดชอบต่อกลุ่ม เพราะกิจกรรมดังกล่าวเน้นการทำงานเป็นทีมเป็นส่วนใหญ่
2. การแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรม ครูควรจัดนักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยคละเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และควรมีการจัดกลุ่มไว้ก่อนล่วงหน้าที่จะทำการเรียนการสอนเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการแบ่งกลุ่มและควรอธิบายบทบาทให้นักเรียนทราบในการปฏิบัติงานกลุ่ม
3. เวลาของหน่วยการเรียนรู้มีจำกัด หากนักเรียนไม่สามารถทำกิจกรรมได้เสร็จสมบูรณ์ในเวลาเรียนครูผู้สอนควรยืดหยุ่นเรื่อง เวลา และให้นำกิจกรรมไปทำหรือปรึกษานอกเวลาเรียนในชั่วโมงซ่อมเสริม ชั่วโมงเพิ่มเวลารู้ ลดเวลาเรียน หรือเวลาว่าง เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ
4. สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนและพยายามดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ความช่วยเหลือแนะนำนักเรียนที่เรียนรู้ช้าส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนดีและปานกลางได้มีส่วนช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนรู้ช้าเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. การนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาใช้ครูควรเตรียมอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนแบบทดสอบ ให้พร้อมก่อนที่จะสอนและควรประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและชุมชนนั้น
ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ในการพัฒนาสื่อต่อไป ครูควรนำสื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไปทดลองใช้กับนักเรียนต่างโรงเรียน โดยให้ครูคนอื่นทำการสอน เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพว่ามีมาตรฐานตามเกณฑ์หรือแตกต่างจากเดิมหรือไม่
2. ควรสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สามารถบูรณาการในรายวิชาอื่นๆ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
3. ควรศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาอื่นในระดับช่วงชั้นอื่นหรือในรายวิชาอื่น เช่น วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา เป็นต้น อันจะส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์มากขึ้น
4. ควรศึกษาตัวแปรอื่นๆ เช่น การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การมีจิตวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์
การสร้างสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น
5. ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมอื่นๆ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ การสร้างสิ่งประดิษฐ์
เป็นต้น เพื่อนำมาใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป
บรรณานุกรม
กรกฎ ลำไย และคณะ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย. พิษณุโลก :
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กรมวิชาการ. (2544). แนวทางการนํามาตรฐานหลักสูตรไปสู่การออกแบบจัดการเรียนรู้และ
การวัดประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
_________ (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศรีปรีชา.
_________. (2546). แนวทางการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กรรณิกา อุดหนุนกาญจน์. (2553). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพรรณไม้ในวรรณคดีไทย
ตามรูปแบบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน
เนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
กฤษมันต์วัฒนาณรงค์. (2554). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สินทวีการพิมพ์.
กัญญาพรแก้วรักษา. (2552).การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง
สระแก้วเมืองน่าอยู่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซับม่วงวิทยา
อำเภอตาพระยาจังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ:
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
กันยา กันต์สุข. (2551). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยใช้แผนผังมโนทัศน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดงดู่ อำเภอ
ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุตรดิตถ์.
กาญจนา เกียรติประวัติ. (2542). วิธีสอนทั่วไปและทักษะการสอน. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.
กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพฯ : ธนพรการพิมพ์.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์
การเกษตรไชยปราการจำกัดอำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ :
คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กิตตินันท์ แวงคำ. (2549). การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเงินและการหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนกับ
แผนการจัดการเรียนรู้การสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(สาขาวิชาวัดผล
การศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กุลยาตันติผลาชีวะ. (2548). การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน.สารานุกรมศึกษาศาสตร์.
กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถใน
การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้
โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการ
มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จารุวรรณ เกษสุวรรณ. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีจัดการ
เรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน และเทคนิคผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง น้ำ ฟ้า และดวงดาว สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน).
พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จารุวรรณ พุ่มพิศ. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง
มหัศจรรย์แห่งน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา).
พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จิราวรรณ สอนสวัสดิ์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานการ
วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยงค์พรหมวงศ์.(2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษาหน่วยที่ 1-5.
นนทบุรี : สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
. (2550).การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการสอน : สื่ออิเลคโทรนิคส์เพื่อการศึกษา:
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์และวาสนาทวีกุลทรัพย์. (2551). ชุดการเรียนการสอนในประมวลสาระ
ชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน.หน่วยที่ 14. พิมพ์ครั้งที่ 2.
นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุไร คํามณีจันทร์. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักร
การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546).หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Arnold, H.T. and Feldman DC. (1986). Intergroups Conflict in Organization Behavior.
New York : McGraw-Hill.
Barell, John. (1998). PBL an Inquiry Approach. Illinois : Skylight Training and
Publishing Inc.
Barrows, H.S.; & Tamblyn, R.M. (1980). Problem-based Learning :An Approach to
Medical Education. New York: Springer.
Bloom et al. (1976). Taxonomy of Education objective hand Book 1 :Cognitive
Domain. New York : David Mackay.
Brown, W. B., and Moberg, D. J. (1973). Organization Theory and Management.
New York : John Wiley and Sons.
Candy, Phillip C. (1991). Self-Direction for Lifelong Learning: A Comprehensive
Guide to Theory and Practice. San Francisco, California : Jossey-Bass.
Delisle, Robert. (1997). How to use Problem-Based Learning in the Classroom.
Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.
Duan,Jon. (1973). Individualized Instructional Program and Materials. Englewood
Cliffs. New Jersey : Educational Technology.
Eggen, P.D.; & Kuachak, D.P. (2001). Strategies for teacher: Teaching Content and
Thinking Skill. 4ht ed. Needham, Heights : A Person Education.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw - Hill.
Houston, W.R. and others. (1992). Developing Instruction Modules, a Modular
System for Writing Modules. Houston : University of Houston.
Kapfer and Kafer. (1982). Education Technology. New York. The Odysser press.
Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row
Publishers.
Hmelo, C.E.; & Evensen, D.H. (2000). Introduction Bringing Problem-Based Learning:
Gaining Insight on Learning Interactions Through Multiple Methods of
Inquiry. In Bringing Problem-Based Learning A Research Perspective on
Learning Interaction. Evensen, D.H. & Hmelo, C.E. (eds). pp. 1-16. Mahwah,
New Jersey : Lawrence Erlbaum Association.
Prescott Danicl Alfred. (1957). The Child in the Educative Process. New York :
McGraw-Hill.
Torp, Linda & Sage, Sara. (1998). Problem as Possibilities: Problem-Based Learning
for K-12. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum
Development.
ภาคผนวก
ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2