ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี
เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย: นายจักรพันธ์ ทองผาย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 แบบแผนการทดลอง คือ The One-Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์
2) แบบสอบถาม 3) รูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี จำนวน
6 หน่วยการเรียน 5) แบบทดสอบย่อยเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 6 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.62 ค่าความเชื่อมั่นของแบบ ทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 7) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
ด้วยโครงงานเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน
6 ชุด ชุดละ 10 ข้อ 8) แบบวัดทักษะการปฏิบัติของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี จำนวน 6 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
และ 9) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เห็นสมควรให้มีการพัฒนาบทเรียนรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ผลพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย
รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า สร้างรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย จำนวน 6 หน่วยการเรียน คุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่ายจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย เท่ากับ 88.25/87.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่า
ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7439 แสดงว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.39 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถ
ในทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.91 และร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไปเท่ากับร้อยละ 100
4. ผลการประเมินผลการใช้และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัติ และทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนด้วยโครงงานบนเครือข่าย รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.48, S.D. = 0.55) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ (x̄ =4.57) รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ และแบบทดสอบ ( x̄=4.49) และด้านการใช้งาน ( x̄=4.48) ตามลำดับ