ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับ
ชั้นนมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางอำพันธ์ พูลสวัสดิ์
ปีที่ทำการวิจัย 2561
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเรื่องสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย เป็นแบบอัตนัย 3. เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 3.1) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย
ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3.3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4. เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 4.1 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เพื่อส่งเสริมความสามารถการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า
1.1 ร่างองค์ประกอบของรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านกระบวนการ (มี 4 ขั้นตอน คือ การสร้างบรรยากาศ (Creating) การสอนวิธีการแก้ปัญหา (Advising) การปฏิบัติการแก้ปัญหา (Acting) การวัดผลความรู้ (Assessing)) องค์ประกอบด้านหลักการตอบสนอง องค์ประกอบด้านระบบสังคม และองค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
1.3 แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าจำเป็นต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถในเรื่องการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เพราะการแก้ปัญหาเป็นหัวใจของคณิตศาสตร์ นักเรียนต้องอาศัยความคิดรวบยอดทักษะการคิดคำนวณหลักการ กฎและสูตรต่างๆ นำไปใช้แก้ปัญหา ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตและสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ ในการสอนนักเรียนให้รู้จักแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลมีขั้นตอน มีระเบียบแบบแผน และรู้จักตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยจึงนำผลการสัมภาษณ์มาร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อไป
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.1 ร่างองค์ประกอบของรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านหลักการ องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ องค์ประกอบด้านกระบวนการ (มี 4 ขั้นตอน คือ การสร้างบรรยากาศ (Creating) การสอนวิธีการแก้ปัญหา (Advising) การปฏิบัติการแก้ปัญหา (Acting) การวัดผลความรู้ (Assessing)) องค์ประกอบด้านหลักการตอบสนอง องค์ประกอบด้านระบบสังคม และองค์ประกอบด้านระบบสนับสนุน ความเหมาะสมและความถูกต้องของร่างรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มี 13 ส่วน ความเหมาะสมและความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 จากการทดลองใช้ครั้งที่ 3 มีค่า 76.07/75.78 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนด
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 79.41/78.74 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนด
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัด
การเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
ภาคตัดกรวย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก