บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพ
ติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า โครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 2) เพื่อประเมินกระบวนการ การดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 3) เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการ ได้แก่3.1) คุณภาพการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 3.2) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการดำเนินงานโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ ของโครงการ ได้แก่ 4.1) พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดยาเสพติดและอบายมุข 4.2) ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประเมินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ข้อ 1.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 313 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน ครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 73 คน ผู้ปกครองปีการศึกษา 2559 จำนวน 313 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน เครือข่ายชุมชุนปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยใช้โปรแกรม SPSS Version 16.0 ได้ค่าวามเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.84 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า โครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ ครู ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย(ค่าเฉลี่ย=3.96, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.33 และค่าเฉลี่ย= 4.70, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.47 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 2 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านความเพียงพอของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.93, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.38 และค่าเฉลี่ย= 4.66, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.47 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 2 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านวัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.95, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.34 และค่าเฉลี่ย= 4.76, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.41 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 2 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ด้านการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.97, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.29 และค่าเฉลี่ย= 4.73, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.44 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 2 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 4.03, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.31 และค่าเฉลี่ย= 4.79, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.41 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 2 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
2.ผลการประเมินด้านกระบวนการโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง โดยรวมทั้ง 3 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 พบว่านักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.91 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.21และ ค่าเฉลี่ย= 4.75 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.14) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด และครูมีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.86, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0. 23 และค่าเฉลี่ย= 4.78, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.17 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.74 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.14 และค่าเฉลี่ย= 4.69, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.18 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.ผลการประเมินผลผลิตด้านคุณภาพการดำเนินงาน โครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน โดยรวมทั้ง 5 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน ของโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.95, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0. 12 และค่าเฉลี่ย= 4.71, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.24 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด เครือข่ายชุมชน มีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.93 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน. = 0.46และ ค่าเฉลี่ย= 4.72 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.= 0.45) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด นักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.92 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.17 และ ค่าเฉลี่ย= 4.75 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.27) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.84 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.23 และ ค่าเฉลี่ย= 4.69 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อด้านคุณภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.74 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.14 และค่าเฉลี่ย= 4.69, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.18 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.ผลการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน โดยรวมทั้ง 5 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.78 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.48 และ ค่าเฉลี่ย= 4.69 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.41) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.79, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.31 และค่าเฉลี่ย= 4.77, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.40 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.79 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51 และค่าเฉลี่ย= 4.67, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.47 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.85 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.54 และ ค่าเฉลี่ย= 4.73 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.53) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนเครือข่ายชุมชน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.81 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65และ ค่าเฉลี่ย= 4.79 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
5. ผลการประเมินผลลัพธ์ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดสารเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงาน โครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความคิดเห็นของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน โดยรวมทั้ง 5 กลุ่ม ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดสารเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.92 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.21 และ ค่าเฉลี่ย= 4.67 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.28) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดสารเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.80, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.19 และค่าเฉลี่ย= 4.64, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.30 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดสารเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.73 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.25 และค่าเฉลี่ย= 4.67, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.23 ) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะการเป็นนักเรียนที่ปลอดสารเสพติดและอบายมุข หลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.75 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.39 และ ค่าเฉลี่ย= 4.71 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.40) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนเครือข่ายชุมชน มีความคิดเห็นต่อด้านกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย= 3.77 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.65และ ค่าเฉลี่ย= 4.73 , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.26) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านการประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้
ข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติดโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ โรงเรียนกันตังพิทยากร ไปประยุกต์ใช้ควรดำเนินการดังนี้
1.การใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช่ควบคู่กับกระบวนการบริหารงานเชิงระบบ หรือวงจรคุณภาพ( PDCA) และการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนที่ต้องทำงานประสานกับทุกฝ่ายด้วยความมุ่งมั่น ความรัก ความเข้าในและความจริงใจต่อภาระกิจที่รับผิดชอบ
2.การใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องใช้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเครือข่าย จะต้องประสานการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ให้ความรัก ความเข้าใจ ให้โอกาสนักเรียนทุกคน
3.การใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้ควบคู่กับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามขั้นตอน 5 ระบบของการดูแลช่วยเหลือนักเรียนคือ
3.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
3.2 การคัดกรองนักเรียน
3.3 การส่งเสริมนักเรียน
3.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหา
3.5 การส่งต่อ
4. โรงเรียนต่าง ๆที่ประสงค์จะนำกระบวนการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด สามารถติดต่อโดยตรงกับโรงเรียนกันตังพิทยากร อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด อย่างยั่งยืน
2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านสารเสพติด ในลักษณะอื่น