|
|
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในด้าน (4.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (4.2) เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัด การเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น 6) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( x̄), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ t แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า นักเรียนมีความสนใจในการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนต้องการพัฒนาทักการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น และครูผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 น่าจะส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีทักษะการคิด การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 2) ขั้นเชื่อมโยงปัญหา 3) ขั้นศึกษาค้นคว้า 4) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา 5) ขั้นนำเสนอและตรวจสอบ และ 6) ขั้นการสรุปและประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.05/82.14
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการวัดทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนด้วยการทดลองแบบแผนการทดลองแบบ กลุ่มตัวอย่างเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest Posttest Design) มีแนวโน้มของพัฒนาการทักษะการคิดแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น โดยพิจารณาจากผลคะแนนจากรูปแบบการสอนจำนวน 12 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.61, S.D. = 0.13)
|
โพสต์โดย ๋JC : [30 ส.ค. 2562 เวลา 16:34 น.] อ่าน [4925] ไอพี : 159.192.219.9
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 107,547 ครั้ง
| เปิดอ่าน 24,943 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,869 ครั้ง
| เปิดอ่าน 48,389 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,304 ครั้ง
| เปิดอ่าน 28,081 ครั้ง
| เปิดอ่าน 68,916 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,732 ครั้ง
| เปิดอ่าน 16,581 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,159 ครั้ง
| เปิดอ่าน 61,019 ครั้ง
| เปิดอ่าน 4,469 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,013 ครั้ง
| เปิดอ่าน 21,593 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,386 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 20,783 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,071 ครั้ง
| เปิดอ่าน 2,599 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,289 ครั้ง
| เปิดอ่าน 27,111 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|