บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางจีรพร ไกรสินธุ์
สถานทีวิจัย โรงเรียนเทศบาล 3 (ตลาดล่าง) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ศึกษา 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนาวิธีการสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการลองใช้วิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2/1 ของโรงเรียนเทศบาล 3 (ตลาดล่าง) สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาวิธีสอนโดยการใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (WPC Model) มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1. ขั้นนำ (Warm up) เป็นขั้นตอนในการนำเข้าสู่เนื้อหาในการเล่นเกม การกำหนดรูปแบบ กฎ กติกา ในการเล่นเกม กระตุ้นความสนใจ
ขั้นที่ 2. ขั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ (Practice) เป็นกระบวนการและลำดับขั้นตอนในการเล่นเกม ติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น ตามแนวคิดการสอนโดยการใช้เกมแบบไม่ร่วมมือ (non - cooperative game theory)
ขั้นที่ 3. ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นขั้นตอนการอภิปรายผลหลังจากมีการเล่นเพื่อสรุปผลการเรียนรู้ในประเด็น เกี่ยวกับเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ และประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ ต่าง ๆ ที่ผู้เรียนได้รับ
มีค่าความเหมาะสม / สอดคล้องเชิงโครงสร้างของวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.71 ( = 4.71) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49
2. ผลการพัฒนาวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (WPC Model) และประสิทธิภาพของวิธีสอน พบว่า วิธีการสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 88.47/87.90
3. ผลการทดลองใช้และเปรียบเทียบวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (WPC Model) สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อวิธีสอนโดยใช้เกม (Game) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.56 ( = 4.56)