สำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร/รายวิชาเพิ่มเติม/ เมืองสุพรรณ
บุปผา สิงห์สถิตย์: การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ จันทร์เรือง ดร. สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ , ดร. พรรณมาส พรมพิลา , ดร. ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง และ ดร. จิรวรรณ สุรเสียง.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ ทักษะการปฏิบัติกิจกรรม ความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียน และเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 34 คน ในปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 19 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบวัดทักษะการปฏิบัติกิจกรรม แบบบันทึกความภาคภูมิใจในท้องถิ่น และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า
ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้มีการจัด การเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรี โดยคาดหวังให้นักเรียนได้ศึกษาเรื่องราว และข้อมูลด้านต่างๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีผู้รู้ในท้องถิ่นร่วมจัดการเรียนรู้และประเมินผล 2) ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย มาตรฐาน ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา ขอบข่ายเนื้อหาสาระ เวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัด และการประเมินผล แผนการจัดการเรียนรู้โดยจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบวัฏจักรสืบเสาะความรู้ (5E2s) โดยหลักสูตรพบว่า มีความสอดคล้องและเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียน จำนวน 34 คน โดยจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะความรู้ 7 ขั้นตอน ร่วมกับการศึกษาแหล่งเรียนรู้จริง พบว่า นักเรียนมีความสนใจ ในเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรีมากขึ้น ทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ มีความขยันและอดทน ปฏิบัติกิจกรรมอย่างตั้งใจกระตือรือร้นและกล้าแสดงออก มีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์และการเขียนสรุปข้อมูลได้ดีในระหว่างการเรียนรู้ 4) ผลการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณหลังการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีทักษะการปฏิบัติกิจรรม ในการทำผลงานอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นตนเองอยู่ในระดับดีมากที่สุด และมีเจตคติต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมอยู่ในระดับมากที่สุดและเห็นว่าหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง เล่าเรื่องเมืองสุพรรณ ทำให้นักเรียนมีความรู้และสามารถแนะนำเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดสุพรรณบุรีได้
KEY WORDS: DEVELOPMENT/SELECTIVE COURSE/ SUPHNBURI
BUBPHA SINGSATID: THE CURRICULUM DEVELOPMENT OF SELECTIVE COURSES ON THE STORIES OF SUPHANBURI FOR SIXTH GRADE STUDENTS. SENIOR EXPERT:ASSOCIATE PROFESSOR DR. PRAMOTE CHANRUEANG , DR. SUPHOT KOEDSUWAN , DR., NUTTAWAN PUMDEEYING , DR. PANNAMAS PROMPILA, DR. JIRAWAN SURASEING
The purpose of this research were to : 1) study the fundamental data for the curriculum development a selective course on the stories of Suphanburi 2) develop the curriculum development a selective course on the stories of Suphanburi 3) implement the curriculum development a selective course on the stories of Suphanburi 4) evaluate and improve the curriculum development a selective course on the stories of Suphanburi for sixth grade students related to learning achievement of the stories of Suphanburi, a practical skill evaluation,taking in locals own and the learners attitude towards the curriculum. The sample consisted of 34 sixth grade students at Wat Chainawas School. during 19 hours in second semester academic year 2017. The research instruments were the curriculum development a selective course on the stories of Suphanburi. The questionnaire, interview, the conversation in group. the attitude test for practice the activity, the note of how to proud the local, and the attitude evaluation form the students opinion toward the local curriculum (additional subject) on the stories of Suphanburi. The data were analyzed by percentage (%) , mean (x̄) , standard deviation (S.D.) , t-test dependent and content analysis.
The research results were as follow:
1) The fundamental data revealed that the students and involved persons realized the importance of the stories of Suphanburi, expected students to learn about learning resources in Suphanburi. By the local knowledge experts participate in learning and evaluating. 2) The developed curriculum that finding the additional subject The stories of Suphanburi the Students in Primary 6 were consisted the principle and target. To learning standards, indicators, subject description, subject structure, learning content, learning schedule, instructional guideline, instructional media, measurement and assessment process and lesson plans by learning the search knowledge cycle (5E2s), the curriculum were appropriate and consistent at the high level. 3) The developed curriculum was implemented with 34 sixth grade students with lesson plans by learning the search knowledge and provide by the 7 steps to learning method Co-educational learning resources. It was found that students were interested in more content about the local curriculum of Suphanburi, activities voluntarily and try to learning the new knowledge with hard working and be patient. They do activities with intention and can expression. They have responsibility to creativity. To observed during the analysis of learning activities. 4) The results of curriculum evaluation and improvement indicated that the students learning achievement after the implementation the local curriculum on the stories of Suphanburi province were statistically higher than before significant at 0.05 level, students had learners key Competencies considering Communication Capacity at excellence level. Learners Desired Characteristic considering the Cherishing Thai-ness at excellence level. They have more skill to do activities in the high level. They proud their local in the high level. And have the highest attitude for the stories of Suphanburi (additional subject). The students agreed that they were satisfied with the developed curriculum which made them knowledgeable and useful while giving their local information about Suphanburi to foreigners.