คำสำคัญ : การสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้/อาณาจักรอยุธยา
บุปผา สิงห์สถิตย์ : การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ทรงคุณวุฒิ : รศ.ดร.ปราโมทย์ จันทร์เรือง , ดร. สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ , ดร. พรรณมาส พรมพิลา ,
ดร. ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง และดร. จิรวรรณ สุรเสียง.
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) โดยวิธีจับสลาก ทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 60 นาที รวมระยะเวลา 10 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย คือ แบบกลุ่มเดียวมีสอบก่อนและหลังสอบ (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้จำนวน 5 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัด การเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าความเชื่อมั่นแบบวิธีคูเดอร์-ริชาร์ดสัน ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Coefficient) และการทดสอบค่าที t-test dependent แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเฉลี่ยรวมเท่ากับ 82.26/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง อยุธยาน่าเรียนรู้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด