ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชน
มีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
สถานศึกษา โรงเรียนครบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นายณัฐพีพัฒน์ บรรจงปรุ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ที่ 80/80 ขึ้นไป 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาทักษะการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (× ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที ttest (Dependent Samples) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง มีประเด็นที่ค้นพบดังนี้
1.1 หลักการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง ก็คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการให้นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติในการดูแลตนเอง และกำกับตนเอง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง
1.2 ผลจากการสอบถามพฤติกรรมสุขภาพที่นักเรียนปฏิบัติจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน และ ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มกับตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 10 คน ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน สามารถสรุปได้ดังนี้
1) นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองโดยทั่วไป ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการนันทนาการ การพักผ่อนและด้านการจัดการความเครียด
2) สิ่งที่นักเรียนและผู้ปกครองมีความต้องการ คือ ให้ครูจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง ในชีวิตประจำวัน
3) ผู้ปกครองมีความยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่บ้าน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติของนักเรียน
2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นระบุพฤติกรรม (Identifying) 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย (Determining) 3) ขั้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Improving) 4) ขั้นประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Evaluating) 5) ขั้นสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Concluding) และ พบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (× ̅ = 4.58 , S.D. = 0.50) และมีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 85.44/84.92 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาทักษะการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา อยู่ในระดับมาก (× ̅ = 4.38 , S.D. = 0.12)
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
5.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนครบุรี มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก (× ̅ = 4.50 , S.D. = 0.14)
5.2 ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการดูแลสุขภาพตนเอง รายวิชาสุขศึกษา อยู่ในระดับมาก (× ̅ = 4.07 , S.D. = 0.10)