ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย พรนิภา พิรามวิทวัส
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิด-วิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างตามขอบเขตการวิจัยมีดังนี้ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้อง 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก (Cluster Random Sampling) ตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยการกำหนดเกณฑ์ในการเลือก คือเป็นผู้มีความรู้ความสารถเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอน มีประสบการณ์ด้านบริหาร ตอนที่ 3 การใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลห้วยยอดวิทยา สังกัดเทศบาลตำบลห้วยยอด จังหวัดตรัง จำนวน 40 คน ซึ่งมาโดยการสุ่มแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก (Cluster Random Sampling) ตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)รูปแบบการเรียนการสอนประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ จำนวน 7 ชุดและแผนการจัดการเรียนรู้ 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่สองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t - test Paired Samples)
ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า
1.1 สภาพปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านการประเมิน ด้านการคิดวิเคราะห์ การจัดการเรียนการสอน ด้านการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาสังคมในระดับประถม ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามสภาพที่คาดหวัง การจัดการเรียนการสอนยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นสอนเนื้อหาเป็นหลัก ใช้เทคนิคการสอนที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้การคิดวิเคราะห์ ขาดการค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การสอบระดับชาติ
1.2 ความต้องการรูปแบบ ครูมีความจำเป็นและมีความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ให้กับผู้เรียนโดยการใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย โดยการผู้วิจัยได้ออกแบบการเรียนการสอน ที่เรียกว่า “PHIASP Model” โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย มีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมและสร้างแรงจูงใจ (Prepare and Motivation) ขั้นที่ 2 นักสืบตัวน้อยด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical methods) 2.1 กำหนดหัวข้อ 2.2 การรวบรวมข้อมูล 2.3 การประเมินคุณค่าข้อมูล 2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 3 จัดระเบียบทางความคิดเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ (Organize ideas) ขั้นที่ 4 ประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเพื่อสร้างชิ้นงาน (Apply the thinking process to create a work piece) ขั้นที่ 5 สรุปผลเพื่อต่อยอดความคิด (Summary of results for further thinking) ขั้นที่ 6 นำเสนอผลงาน (Presentation) ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ นักเรียนมีความต้องการให้จัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง นำเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
2. ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผลการศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 87.45/86.75
3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์และโครงงานเป็นฐาน เรื่อง คำขวัญท้องถิ่นน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53