การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง จำนวน 4 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน รวมเวลา 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลอนสี่ แบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น แบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.96/ 80.14
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลอนสี่ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนกลอนสี่โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี
ผู้วิจัย นางไมตรี หนูจันทร์
ปีที่ทำวิจัย 2560-2561
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ
คือ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี 2. เพื่อการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี 3.เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี 4. เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี สรุปผล และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 การศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการสอนอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 2) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่ขรี มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการของรูปแบบการสอนอ่าน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอนอ่าน เนื้อหาของรูปแบบการสอนอ่าน กระบวนการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนอ่าน ที่พัฒนาขึ้นชื่อ ว่า RERIE Model โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) ตรวจสอบความรู้เดิม (Reviewing Knowledge) :R) 2) สร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ (Experience building :E ) 3) การอ่านอย่างตั้งใจ (Read :R) 4. จับใจความสำคัญ (Interpretation :I ) 5) การประเมินผล (Evaluation :E) และการประเมินผลรูปแบบการสอนอ่าน โดยมีคุณภาพของรูปแบบการสอนอ่านอยู่ในระดับมาก
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย มีความเข้าใจ
ในการอ่านภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการ
เรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอนอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย นางสาววิไล บุญญานุวัตร
ปีที่ทำวิจัย 2560-2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง 2. เพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง 4. เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอน ที่ 1 สำรวจสภาพการดำเนินงานและปัญหาของการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา จากผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของการบริหารวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดศึกษา ขั้นตอน ที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ปีการศึกษา 2561 และขั้นตอนที่ 4 หาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา และการรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา 2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus group Discussion ) 3) ประเมินผลความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียน
เทศบาลวัดธาราสถิตย์ พบว่า สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 8 ด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงมากมีปัญหาคือ ครูขาดประสบการณ์ ขาดการนิเทศ
2)สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เป็นโอกาส คือ การได้รับงบประมาณสนับสนุนจากต้นสังกัด อย่างต่อเนื่อง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นภาวะคุกคาม สภาพครอบครัวของนักเรียนไม่มั่นคง มีปัญหาการแยกกันอยู่ นักเรียนย้ายตามผู้ปกครอง สำหรับสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็ง คือผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิชาการและสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดอ่อนคือ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่เข้มแข็ง
3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ที่พัฒนาขึ้น คือ 5P Model ประกอบด้วย 1) (P1 : Plan ) การวางแผนระบบงานวิชาการสู่คุณภาพการศึกษา 2) (P2 : Personal) การพัฒนาบุคลากรสู่คุณภาพการศึกษา 3) (P3 : Process of Curriculum ) การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนสู่คุณภาพการศึกษา 4) (P4 : Participation) การสร้างเครือข่ายความรู้สู่คุณภาพการศึกษา 5) (P5 : Performance) การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล สู่คุณภาพการศึกษา
4 )ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของ
โรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ มีความเหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เทศบาลตำบลโคกชะงาย จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย นางสาววิไล บุญญานุวัตร
ปีที่ทำวิจัย 2560-2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาล วัดธาราสถิตย์ และศึกษา ความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีการวิจั ยและพัฒนา (Research & Development) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงจากโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง โดยการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 40 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษา ครูฝ่ายปกครอง ครูแนะแนว เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้เทคนิคสรุปสาระสำคัญแจกแจงความถี่ ของผู้ตอบแต่ละรายการ นำผลมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง แล้วศึกษาความสมบูรณ์ของรูปแบบโดย การจัดประชุมสัมมนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group Disscusion) ของผู้เชี่ยวชาญด้านการ
บริหารการศึกษา ด้านการแนะแนว ด้านระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน จำนวน 10 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบด้านประสิทธิภาพ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและการลดภาวะเสี่ยงของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล โดยทำการทดลองกับโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เป็น รายบุคคล แล้ว 3) ศึกษาความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนกลุ่มเสี่ยง จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ด้านการแนะแนว ด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมในการนำไปใช้ ของรูปแบบ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจั ยพบว่า
1.การออกแบบและสร้างรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ มีผลการวิจัย ดังนี้
1.1 สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่ม
เสี่ยง พบว่า มีการดำเนินการในด้านวิธีการแก้ไขและผลลัพธ์ ด้านระบบและกลไก และด้านปัญหาอุปสรรค
1.2 รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนั กเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียน
เทศบาลวัดธาราสถิตย์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ การดำเนินงาน การกำกับ ติดตามผลการดำเนินงาน และการประเมินผลและรายงานผล
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ พบว่า การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และนั กเรียนกลุ่มเสี่ยงมีภาวะเสี่ยงลดลง
3. รูปแบบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนั กเรียนกลุ่มเสี่ยง ของโรงเรียนเทศบาลวัดธาราสถิตย์ มีความเหมาะสมในการนำไปใช้อยู่ใน ระดับมาก