ชื่อเรื่อง การวิจัยและพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ
วัฒนธรรมเรื่อง เรารักพิษณุโลกชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ
อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ผู้วิจัย นายชรินทร์ อินน่วม
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นการจัดการเรียนรู้ว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนการวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่อง เรารักพิษณุโลกกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง เรารักพิษณุโลกกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่อง เรารักพิษณุโลกกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมภายหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนเทศบาลพิรามอุทิศ อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ศึกษาพิษณุโลก เขต 1ปีการศึกษา 2561จำนวน 28 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้จำนวน 11ชุดการเรียนรู้ ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่องสภาพภูมิศาสตร์ของพิษณุโลกชุดที่ 2 เรื่องประวัติจังหวัดพิษณุโลกชุดที่ 3 เรื่องแผนที่บ้านเรา ชุดที่ 4 เรื่องการจัดสาธารณูปโภคและการบริการของรัฐชุดที่ 5 เรื่องวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมชาวพิษณุโลกชุดที่ 6 เรื่องอาชีพของชาวพิษณุโลกชุดที่ 7 เรื่องประเพณีในท้องถิ่นชุดที่ 8 เรื่องการละเล่นพื้นบ้านชุดที่ 9 เรื่องบุคคลสำคัญในท้องถิ่นชุดที่ 10 เรื่องสถานที่สำคัญในจังหวัดพิษณุโลกชุดที่ 11 เรื่องการอนุรักษ์ท้องถิ่นแบ่งออกเป็น และแผนการจัดการเรียนรู้ 11 แผน ใช้เวลาเรียน 19 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเรารักพิษณุโลก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ t-test (Dependent Samples )
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่องเรารักพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.18/82.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรมเรื่อง เรารักพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4และทำการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อย นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลจากการคำนวณได้ ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6683 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.83
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรมเรื่อง เรารักพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนที่ใช้ชุดการเรียนรู้ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่อง เรารักพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ปรากฏผลคือ นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 4.55 ระดับความพึงพอใจยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป การเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องเรารักพิษณุโลกกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4สามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่งผลให้สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้ครูนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในทุกระดับชั้น