ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริม
ทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายพิพัฒน์ อินทนา
สถานศึกษา โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา ตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยนี้เป็น การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการคิดขั้นสูง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบ One-Group Pretest- Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายและอธิบาย ทำให้นักเรียนมีการคิดขั้นสูงน้อย การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ควรพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้จากการลงมือปฏิบัติและทำกิจกรรมกลุ่ม โดยใช้แหล่งเรียนรู้สวนทุเรียนในเขตอำเภอน้ำขุ่น
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรม อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.31/81.93 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียนน้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบ การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง เรื่อง ระบบนิเวศสวนทุเรียน น้ำขุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45