บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นการออกแบบวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักแนวคิด ADDIE Model ของ เควิน ครูส (Kevin Kruse. 2008 : 1) ประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้.แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้ระยะเวลาในภาคเรียนที่ 2/2561 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม6 จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า ควรมีการพัฒนากระบวนการการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักเรียนเป็นเจ้าของบทเรียน ร่วมกันวางแผน ลงมือปฏิบัติ ร่วมกันแก้ไขปัญหา สะท้อนผลการปฏิบัติ สร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติร่วมกัน และนำความรู้รวมทั้งทักษะในการปฏิบัติงานไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า WACRCPER Model มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน (Principle of Model) องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน (Objectives of the Model) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการเรียนการสอน (Syntax of the model) ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Warm up : W) 2) ขั้นปฏิบัติกิจกรรม (Activities : A) 3) ขั้นตรวจสอบความถูกต้อง (Check the accuracy : C) 4) ขั้นสะท้อนผล (Reflection of Knowledge : R) 5) ขั้นสร้างความรู้ (Creations of Knowledge : C) 6) ขั้นนำไปใช้ ( Production : P) 7) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) และ 8) ขั้นต่อยอดความรู้ (Advanced knowledge : A) องค์ประกอบที่ 4 ระบบสังคม (Social System) องค์ประกอบที่ 5 หลักการตอบสนอง (Principle of reaction) และ องค์ประกอบที่ 6 ระบบสนับสนุน (Support System) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.21/82.08 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อนักเรียนเรียนครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบหลังเรียน ด้วยข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.50 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.12 คะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1 4. ผลการพัฒนาพฤติกรรมในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 2.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 อยู่ในระดับดี มีค่าร้อยละผ่านเกณฑ์การประเมินทุกแผนการเรียนรู้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2.2
5. ผลการพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 2.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20 อยู่ในระดับดี และ มีค่าร้อยละผ่านเกณฑ์การประเมินทุกแผนการเรียนรู้ ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2.3
6. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.40 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.27 อยู่ในระดับมาก ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 3
โดยสรุป รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนให้สูงขึ้น จึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำรูปแบบการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป