ชื่อผู้วิจัย หัทชยานันท์ แก้วเจริญ
ปีที่ศึกษา 2561
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด2)เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด โดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด โดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 24)เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด โดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้างสังกัดเทศบาลเมืองพังงา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้การจัดฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 35 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แบบสัมภาษณ์2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน5) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้การอ่านและเขียนคำที่ประสมด้วยสระและการผันวรรณยุกต์พบว่าการแก้ไขปัญหาอ่านและการเขียน โดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRCเป็นการจัดการเรียนเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการเขียนโดยผสมผสานการอ่านเพื่อความเข้าใจควบคู่กับการเขียน
2. ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด โดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ใช้รูปแบบ PPGA Modelประกอบด้วย1) ขั้นเตรียมความพร้อม2) ขั้นสอน3) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม 4) ขั้นสรุปและประเมินผลส่วนการตรวจสอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การทดสอบค่าประสิทธิภาพขั้นทดลองภาคสนาม พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC มีประสิทธิภาพ80.79/80.44สามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นเครื่องมือในการทดลองขั้นต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.02/83.71
4.ผลการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดโดยใช้การเรียนรู้แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก