ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ผู้วิจัย นางเบญจมาศ มีชาญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๓ โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๒๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๒) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๓) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การสร้างและ หาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ขั้นตอนที่ ๓ การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และขั้นตอนที่ ๔ การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สถิตที่แบบไม่อิสระ (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
๑. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนสามารถส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญในตนเองช่วยให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในการอ่านจับใจความสำคัญมากขึ้น
๒. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนออกมาในรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดยดำเนินการตามกระบวนการเรียนรู้ของส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ประกอบด้วย ๖ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ ค้นหาความรู้พื้นฐาน ขั้นที่ ๒ ตรวจสอบความรู้ ขั้นที่ ๓ บันทึกความรู้ ขั้นที่ ๔ เสาะหาข้อมูลเพิ่ม ขั้นที่ ๕ การสร้างแผนภาพความคิดและ ขั้นที่ ๖ การสรุปใจความสำคัญจากประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน การสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =๔.๗๐, =๐.๓๙) และการหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน จับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ ๘๗.๕๐/๘๘.๘๓ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๓. การเปรียบเทียบความสามารถในการการอ่านจับใจความสำคัญก่อนและหลัง การเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ พบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( =๔.๓๖, =๐.๖๘)