ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ผู้วิจัย นางสาวปริยากร พินกฤษณ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
กระบวนการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ตามรูปแบบการเรียนการสอนด้วยวิธีซินเนคติกส์เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) รูปแบบวิจัยแบบเชิงทดลอง (Pre Experimented Design) โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่าง มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest Posttest Design) (มาเรียม นิลพันธุ์,2555,หน้า 144) การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบ การเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล ๓ (พรหมรวมมิตร) กองการศึกษา เทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบวัดความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D & D) การสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการนำไปใช้ (Implementation : I) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ทำ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สถิตที่ แบบไม่อิสระ (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ว่ารูปแบบ การเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสอดคล้องกับนโยบายการศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน สามารถพัฒนานักเรียนให้เกิดทักษะในตนเอง มีความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาด
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถใน การสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยถ่ายทอดแนวคิดของรูปแบบ การเรียนการสอนออกมาในรูปแบบของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นขั้นตอนในการกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์ด้วยวิธีซินเนคติกส์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การให้ข้อมูลของสถานการณ์ ขั้นที่ 2 การเปรียบเทียบจากประสบการณ์ตรง ขั้นที่ 3 การสมมติตนเป็นสิ่งอื่น ขั้นที่ 4 การสร้างภาพขัดแย้ง ขั้นที่ 5 การเปรียบเทียบขัดแย้งแบบมีเหตุผลและขั้นที่ 6 การสร้างสรรค์จากการเรียนรู้ จากประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, =0.39) และการหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( ) เท่ากับ 87.08/89.79 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
3. การเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทัศนศิลป์โดยใช้รูปแบบ การเรียนการสอนทัศนศิลป์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ภาพวาดสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, =0.55)