การนำเสนอผลงาน/วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ระดับปฐมวัย
ชื่อผลงาน Magic of Art เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวอันธิกา มูลสืบ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนวัดทัพหมัน
โรงเรียนวัดทัพหมัน ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2
๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีการพัฒนามากที่สุด คือ ช่วงอายุระหว่าง ๐ ๖ ปี ถือว่าเป็นช่วงโอกาสทองของการเรียนรู้ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาและได้รับการกระตุ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้องจะช่วยเสริมสร้างให้มีความพร้อมสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยกล้ามเนื้อเล็กเป็นอวัยวะหนึ่งในการประกอบกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่น การใส่ - ถอดกระดุม รูดซิป การแปรงฟัน ผูกเชือกรองเท้า งานศิลปะ รวมทั้งการขีดเขียน ถ้าเด็กสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือและตาได้อย่างประสานสัมพันธ์กัน และคล่องแคล่วจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ (อธิษฐาน พูลศิลป์ศักดิ์กุล. ๒๕๔๖ซ ๑๑๑) การเล่นและการจัดกิจกรรมศิลปะต่างๆจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความพร้อมทางมือและตามากที่สุด เด็กจะเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เด็กจะใช้มือในการหยิบจับวัสดุต่างๆ ทำให้เข้าใจวิธีการใช้นิ้วจับดินสอได้อย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นการวางรากฐานในการใช้มือที่ถนัดเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเขียนต่อไป ตามแนวคิดของกีเซล (ประมวญ ดิดคินสัน. 2554: 178-179; อ้างอิงมาจาก Gesell.1947) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการ กล่าวว่า ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กสามารถแบ่งออกเป็นระยะและมีขั้นตอน พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อเล็กนั้นมีความสำคัญแก่ชีวิตเพราะเป็นรากฐานของบุคคลเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กล่าวคือ พฤติกรรมต่างๆ จะมีอิทธิพลมาจากสภาพความพร้อมทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อ ต่อมกระดูก และประสาทต่างๆ สิ่งแวดล้อมเป็นเพียงส่วนประกอบทางการเปลี่ยนแปลง กีเซล (Gesell, 1๙๔๐ : ๑๔) ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1.พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (Motor Behavior) เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
2.พฤติกรรมด้านการปรับตัว (Adaptive Behavior) เป็นความสามารถในการประสานงาน ระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก (Motor Sensory Coordination) เช่น ประสานงาน ระหว่างตากับมือ (Eye Hand Coordination) ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก (Manipulation) เช่น การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว
3.พฤติกรรมทางด้านภาษา (Language Behavior) เป็นพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับวิธีสื่อสาร ทุกชนิด เช่น การแสดงออกทางหน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหว ความสามารถในการเปล่งเสียงและภาษาพูด การสร้างความเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น
4.พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (Personal-Social Behavior) เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็กระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับกลุ่มภายในภาวะแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงซึ่งต้องอาศัยความเจริญของสมองและการเคลื่อนไหวประกอบกัน
กีเซล พบว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้มือหยิบจับของทารก มีขั้นพัฒนาการเริ่มจากขั้นแรก คือ การใช้มือตะปบ ขั้นต่อมาจับของด้วยนิ้วมือ 4 นิ้วติดต่อกับฝ่ามือ โดยเริ่มใช้ฝ่ามือตอนใกล้ๆ สันมือ แล้วจึงเลื่อนไปใช้กลางใจมือ จากนั้นหัวแม่มือจึงค่อยเคลื่อนมาช่วยจับ ขั้นสุดท้าย คือ การหยิบของด้วยนิ้วหัวแม่มือกับปลายนิ้ว
การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรม ที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพของเด็กแต่ละคน ซึ่งกิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ทางศิลปะ เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กได้รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยฝึกการแก้ปัญหา ผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้จิตใจสงบ อ่อนโยน มีสมาธิในการทำงาน (รวิพร ผาด่าน. 2557: 3)
จากการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนระดับชั้นอนุบาล ๒ ห้อง ๑ โรงเรียนวัดทัพหมัน พบว่าเด็กส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กในการหยิบ จับ และขีดเขียน อีกทั้งการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาในด้านความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น ความถูกต้อง และความสามารถในการควบคุมการประสานกันยังไม่ดีเท่าที่ควร ขาดสมาธิในการทำงาน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้าพเจ้าจึงได้คิดหาวิธีการ ส่งเสริม พัฒนา กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยใช้นวัตกรรม Magic of Art เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ เพื่อส่งเสริมพัฒนากล้ามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
๒.๒ เพื่อเปรียบเทียบการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม Magic of Art เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
๓. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๒ ห้อง ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนวัดทัพหมัน ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี หลังใช้นวัตกรรม Magic of Art เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก พบว่าเด็กมีพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อเล็กที่สูงขึ้นและอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็น ร้อยละ ๙๒.๒๓
๕. บทเรียนที่ได้รับ
ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรม Magic of Art เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก ไปใช้กับนักเรียนในระดับชั้นอนุบาล ๒ ห้อง ๑ ส่งผลให้เด็กและครูผู้สอน ดังนี้
ประโยชน์สำหรับผู้เรียน
1. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและกล้ามเนื้อเล็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตามีความคล่องแคล่วมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น
๒. เด็กได้พัฒนาทักษะการคิด และสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
๓. เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่เหมาะสมตามวัย
๔. เด็กมีความมั่นใจในการทำงาน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๕. เด็กมีความกระตือรือร้น มีวินัย มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
๖. เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานตนเองและผู้อื่น
๗. ผู้ปกครองให้ความสำคัญในการดูแลบุตรหลานและมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
ประโยชน์สำหรับครู
1. ครูผู้สามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
๒. ครูได้นำเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายมาพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและสมาธิของเด็ก
๖. การเผยแพร่ผลงาน
ผู้ใช้ได้เผยแพร่ผลงานในโรงเรียนแก่ครูระดับอนุบาล ๒ และอนุบาล ๓ และเผยแพร่ผลงานไปยังกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่สนใจนำนวัตกรรม Magic of Art ไปใช้ในโรงเรียนทั้ง ๖ แห่ง ในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อให้ครูนำใช้กับเด็กที่มีปัญหาทางด้านกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาในด้านความคล่องแคล่ว ความยืดหยุ่น ความถูกต้อง และความสามารถในการควบคุมการประสานกันยังไม่ดีเท่าที่ควร ขาดสมาธิในการทำงาน โดยผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ในชั้นเรียน