นายศักดิ์ รุ่งแสง
ผู้อานวยการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
A Model to Promote Teaching and Learning Activities For Improving Student Academic Achievement of Princess Chulabhorn Science High School Buriram
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ 2) สร้างรูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผล สัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งแบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2559 จานวน 61 คน นักเรียน ปีการศึกษา 2559 จานวน 251 คน
ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จานวน 12 คน
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร จานวน 5 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2560 - 2561 จานวน 59 คน นักเรียน ปีการศึกษา 2560 - 2561 จานวน 719 คน
และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2561 จานวน 63 คน นักเรียน ปีการศึกษา 2561 จานวน 719 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมิน แบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน มีความสอดคล้องกันคือ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ (Management) ประกอบด้วย การบริหารหลักสูตรและการวัดผลประเมินผล การบริหารจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบริหารจัดการสื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ 2) ด้านครูผู้สอน (Teachers) ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักและแรงจูงใจ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน และ การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรพัฒนาตนเอง และ 3) ด้านผู้เรียน ((Students) ประกอบด้วย การพัฒนาด้านวิชาการ การพัฒนาด้านร่างกาย และ การพัฒนาด้านจิตใจ/คุณธรรม รวมกิจกรรมดาเนินการ 10 กิจกรรม ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ 3 องค์ประกอบ กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จานวน 10 กิจกรรม เริ่มดาเนินการเดือนมีนาคม 2560 มีนาคม 2561 โดยดาเนินการตามคู่มือการปฏิบัติกิจกรรมที่จัดทาขึ้น พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบแต่ละองค์ประกอบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 กิจกรรม ตามรูปแบบแต่ละองค์ประกอบ โดยรวมสูงขึ้น ทุกองค์ประกอบ
4. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
4.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4.2 ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ที่มีต่อรูปแบบการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ โดยรวมเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้