บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลบ้านตูม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลบ้านตูม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 789 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูสายผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนโรงเรียนที่เป็นคณะกรรมการ นักการภารโรง ผู้ปกครองนักเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลนครขอนแก่น และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1.ผลการศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลบ้านตูม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำแนกตามองค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 ด้าน พบว่า ในภาพรวมมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม มีระดับความคิดเห็นเท่ากับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน มีระดับความคิดเห็นเท่ากับมากที่สุด และด้านโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน มีระดับความคิดเห็นที่เท่ากับมาก
ส่วนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมมาก ได้แก่ ท่านมีส่วนร่วมในการจัดตั้งชมรมครู-ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนมากน้อยเพียงใด ท่านมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิตหรือเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด และท่านมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีมากน้อยเพียงใด มีระดับความคิดเป็นเท่ากับมากที่สุด
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นปัญหาในการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลบ้านตูม จำแนกตามองค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 10 ด้าน พบว่า ในภาพรวมความคิดเห็นว่าเป็นปัญหาอยู่ในระดับน้อย องค์ประกอบที่คิดเห็นว่าเป็นปัญหา ได้แก่ ด้านสุขศึกษาในโรงเรียน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย และด้านนโยบายของโรงเรียน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย
ส่วนกิจกรรมที่มีปัญหามาก ได้แก่ โรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี มีระดับความคิดเห็นเท่ากับปานกลาง การเข้ามามีส่วนร่วมงานส่งเสริมสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการกระตุ้นจิตสำนึกของผู้ปกครองของนักเรียนไม่ให้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างไม่ดีเช่นดื่มสุรา สูบบุหรี่เป็นต้น มีระดับความคิดเห็นเท่ากับปานกลาง งบประมาณในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพไม่เพียงพอ มีระดับความคิดเห็นเท่ากับปานกลาง