ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ
และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ
ซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นายกฤติน แนมพลกรัง
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านความรู้ เรื่อง บทประยุกต์และความจำเป็นของการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับครูคณิตศาสตร์ 2) สร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัด การเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) ประเมินผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตตนารถปริวัตร) เทศบาลเมืองราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครู เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ด้านความรู้และการประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นครูเกี่ยวกับความจำเป็นของการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 3) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ ซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 18 แผน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 30 ข้อ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ จำนวน 10 ข้อ ระยะเวลาที่ใช้ ในการดำเนินการทดลอง 20 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1/E2 และการทดสอบที (t-test dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน พบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตต-นารถปริวัตร) มีคะแนนเฉลี่ย 17.40 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าทุกระดับ และสาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนควรเร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ คือ สาระที่ 6 ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ครูผู้สอนยังไม่สามารถที่จะวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ก็เห็นความจำเป็นที่ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
2. ก่อนการทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์เพื่อเสริมสร้างทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้มี การหาคุณภาพความสอดคล้องและประสิทธิภาพก่อนนำมาใช้ทดลอง และนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเป็น 85.93/81.85 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัด การเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเป็น 85.93/81.85 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังที่ได้รับการสอนโดยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ภายหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์เพื่อเสริมสร้างทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา (CIPPA Model) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับมากที่สุด