ผู้วิจัย ภควรินทร์ โนนสุวรรณ
สถานที่ โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวน
พิทยาสรรค์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ (2.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวน
พิทยาสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการทดสอบค่าที ttest (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 มีรายละเอียด ดังนี้
1) มีกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจากทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist) มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE Model ปรับปรุงตามแนวคิดของเควิน ครูส (Kevin Kruse. 2009 : 1) และหลักการจัดการเรียนการสอนมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด ของจอยซ์และเวลล์(Joyce and Weill. 2004 : 9) ประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ มีรูปแบบการเรียนรู้แบบ PUHRAPS Model ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1กำหนดปัญหา (Problem : P) ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา (Understanding the Problem : U) ขั้นที่ 3 ตั้งสมมติฐาน (Hypothesis : H) ขั้นที่ 4 ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล (Research : R) ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis : A) ขั้นที่ 6 เตรียมนำเสนอผงาน (Presentation : P) ขั้นที่ 7 สรุปและประเมินผล (Summarizing and Assessing: S) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่องพลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เท่ากับ 83.04/82.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6026 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 60.26
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาสีนวน
พิทยาสรรค์ พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีคะแนนเฉลี่ยการคิดแก้ปัญหาโดยรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( Mu= 4.59 , Rho = 0.47)