ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะ
การปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นายนฤชิต ไชยพิมพ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ ยุติธรรมวิทยา สังกัดสำนักการศึกษา
เทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Researchand Development) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 1 ได้แก่ 1) เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล 3 ยุติธรรมวิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 2) เอกสารแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ครูวิชาการงาน จำนวน 7 คน นักเรียนจำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน แหล่งข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 2 ได้แก่ 1) เอกสารข้อมูลพื้นฐานที่ได้วิเคราะห์
ในขั้นตอนที่ 1 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบและด้านการสอนวิชาการงาน จำนวน 5 คน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ ยุติธรรมวิทยา ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน 3) เอกสารตำราเกี่ยวกับทฤษฎีหลักการ การวัดทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล และกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์การวิจัยตอนที่ 3, 4 ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล ๓ ยุติธรรมวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัด
การเรียนรู้ 4) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงานช่าง 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test ชนิด Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ยึดหลักการและแนวคิดสำคัญคือ มีมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพและเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ผลการศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิด
เพื่อนำมาใช้เป็นทฤษฏีและข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยรูปแบบการสอนของจอยซ์และเวลล์ แนวคิดทฤษฎี การสร้างความรู้ (Constructivist Learning Theory) แนวคิดการร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaborative Learning) แนวคิดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) แนวคิดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะปฏิบัติ (Psycho-Motor Domain) รูปแบบการเรียนการสอน โดยผ่านขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับทฤษฏีเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ผลการศึกษาข้อมูลความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะ
การปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นจูงใจเพื่อเตรียมความพร้อม (2) ขั้นเสนอความรู้สู่การปฏิบัติ (3) ขั้นฝึกปฏิบัติงาน (4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (5) ขั้นสรุปองค์ความรู้ และ (6) ขั้นประเมินผลและประยุกต์ใช้ ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.70 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้และผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 81.95/80.33
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงระหว่างความรู้เดิม ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่กับความรู้ใหม่ที่ได้รับ การจัดเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและหลักการ ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะจากการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาด้วยตนเองตามลำดับขั้นตอนของรูปแบบ จะช่วยให้ผู้เรียนได้โครงสร้างทางปัญญา โดยการเชื่อมโยงความรู้ ประสบการณ์ และความรู้ใหม่ เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้นำไปสู่ทักษะกระบวนการฝึกทักษะการปฏิบัติ ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนจากการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้ค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 83.72/82.50
4. ผลการประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลดังนี้
4.1 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติงานช่าง อยู่ในระดับเกณฑ์คุณภาพดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.41 คิดเป็นร้อยละ 83.09
4.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชางานช่าง เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติงานช่างพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59)