การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล เวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 14 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.31/ 85.06 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ร้อง เล่น บรรเลงดนตรีสากล โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ของระดับความพึงพอใจเท่ากับ 4.45 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 2 ด้าน ระดับมากจำนวน 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบมัลติมีเดีย 2) ด้านการออกแบบการจัดการเรียนการสอน และ 3) ด้านเนื้อหาบทเรียน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 9 ข้อ ระดับมากจำนวน 11 ข้อ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา และมีความสวยงาม 2) คุณภาพเสียง ดนตรีประกอบ เหมาะสมชัดเจน และ 3) ระบบติดต่อครูผู้สอนออนไลน์ เพิ่มความสะดวกในการติดต่อครูผู้สอน