บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตาบลเขางู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตาบลเขางู และ(3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา ชุดนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตาบลเขางู สังกัดเทศบาลตาบลเขางู จังหวัดราชบุรี ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster random sampling) จานวน 1 ห้องเรียน 33 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit) ระยะเวลาที่ใช้ 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย แบบ One Group Pretest Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา จานวน 8 เล่ม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3. แผนการจัดการเรียนรู้ และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (𝑋̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) การทดสอบสมมุติฐาน t-test dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา(content Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานและการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตราที่มีเนื้อหาเรียงลาดับจากง่ายไปหายากมีภาษาที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความแตกต่างของบุคคล
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนด คือ 82.10/83.71
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนหลังทดสอบสูงกว่าก่อนทดสอบ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนคาที่สะกดตรงตามมาตรา สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก