ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ สพป.เชียงรายเขต 3

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

เรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

ผู้รายงาน : นายทรงเดช ชัยปัญหา

ปีที่พิมพ์ : 2562

……………………………………………………………………………………………………….

การรายงานครั้งนี้เป็นการรายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินตาม CIPPIEST Model เสนอโดย แดเนียล แอล สตัฟเฟลบีม (Daniel L. Stufflebeam) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งด้านผลผลิตประกอบด้วยส่วนขยาย ได้แก่ ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการประเมิน พบว่า

ผลการประเมินบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅ = 4.53, S.D. = 0.56) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยระหว่างมากถึงระดับมากที่สุด โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ มีการศึกษาสภาพปัญหาของโรงเรียนโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม (x ̅ = 4.76, S.D. = 0.52) และโครงการฯ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน (x ̅ = 4.63, S.D. = 0.50) ตามลำดับ

ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x ̅ = 4.50 , S.D. = 0.55) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยระหว่างระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม (x ̅ = 4.63, S.D. = 0.50) และกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน (x ̅ = 4.58, S.D. = 0.52) ตามลำดับ

ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) (x ̅ = 4.58, S.D. = 0.59) รองลงมาคือ กิจกรรมการสร้างเจตคติของโรงเรียนจัดการเรียนรวม (x ̅ = 4.56, S.D. = 0.50) ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (x ̅ = 3.58 , S.D. = 0.49) รองลงมามีผลค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ กิจกรรมการสร้างเจตคติของโรงเรียนจัดการเรียนรวม (x ̅ = 3.49, S.D. = 0.50) และกิจกรรมการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเรียนรวม (x ̅ = 3.49, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละกิจกรรมตามความคิดเห็นของครู พบว่า กิจกรรมการสร้างเจตคติต่อโรงเรียนเรียนรวม ได้แก่ ครูทำงานในโรงเรียนด้วยความเต็มใจและ มีความสุข (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.46) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเรียนรวม ได้แก่ มีการประชุมชี้แจงให้ครู นักเรียน ถึงแนวทางปฏิบัติตัวในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน (x ̅ = 4.74, S.D. = 0.53) กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ คณะกรรมการคัดกรองและครูประจำชั้นร่วมประชุมเพื่อนำกลุ่ม เสี่ยง มีปัญหา และพิเศษ มาทำตามคัดกรองตามเครื่องมือคัดกรองของกระทรวงศึกษาธิการ และเครื่องมือคัดกรอง KUS-SI (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.52) กิจกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ได้แก่ โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) (x ̅ = 4.75 , S.D. = 0.46) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ได้แก่ มีการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามที่ระบุใน IEP ให้กับนักเรียน (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.53) กิจกรรมการสอนเสริม มีการกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมในการประเมินผลการของการสอนเสริม (x ̅ = 4.75 , S.D. = 0.46) และกิจกรรมการวัดและประเมินผล ได้แก่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสำหรับการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรวม (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.51) ส่วนค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละกิจกรรมแตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า กิจกรรมการสร้างเจตคติต่อโรงเรียนเรียนรวม ได้แก่ การบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรมมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม (x ̅ = 3.58, S.D. = 0.50) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเรียนรวม ผู้บริหารได้แจ้งนโยบาย ให้ความรู้ในแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม (x ̅ = 3.57, S.D. = 0.49) กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ โรงเรียนกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือ การส่งต่อนักเรียนเบื้องต้น (x ̅ = 3.53 , S.D. = 0.50) กิจกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ได้แก่ มีการประเมินความสามารถในปัจจุบันและความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียน (x ̅ = 3.51 , S.D. = 0.50) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ได้แก่ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ที่หลากหลายและเหมาะสมกับการจัดการเรียนรวม (x ̅ = 3.69 , S.D. = 0.44) กิจกรรมการสอนเสริม ได้แก่ มีการกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมในการประเมินผลการของการสอนเสริม (x ̅ = 3.53 , S.D. = 0.50) และกิจกรรมการวัดและประเมินผล ได้แก่ มีการวัดและประเมินผลนักเรียนต้องมีความสอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (x ̅ = 3.53 , S.D. = 0.51)

ผลการประเมินผลผลิต ตามส่วนขยายผลผลิตของโครงการ ดังนี้

ด้านผลกระทบ

ผลการประเมินมาตรฐานการเรียนรวม พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการในโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาครอบคลุมทั้ง 4 มาตรฐานและเมื่อวิเคราะห์เอกสารของผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี ทั้ง 4 มาตรฐาน

ผลงาน รางวัลที่ได้รับจากการบริหารโครงการ คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้รับรางวัลจากงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมวิชาการ และเทคโนโลยี ของนักเรียน ปีการศึกษา 2561 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 กิจกรรมการแข่งขันการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก ประเภทนักเรียนที่มีความพกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้น ป.4 - ป.6 การแข่งขันทักษะภาษาไทยในโครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2561 รางวัลชนะเลิศ กิจกรรมการคัดลายมือ ป.4 - ป.6

ด้านประสิทธิผล

4.2.1 ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายของโครงการ พบว่า โดยรวมประสิทธิผลเป็นไปตามเป้าหมายอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) (x ̅ = 4.64 , S.D. = 0.49) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A:Activities) (x ̅ = 4.61 , S.D. = 0.49) ด้านนักเรียน (S:Stuent) (x ̅ = 4.59 , S.D. = 0.49) และด้านเครื่องมือ (T:Tools) (x ̅ = 4.57 , S.D. = 0.49) ตามลำดับ ส่วนลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง และนักเรียน ได้แก่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากันสูงสุด ด้านสภาพแวดล้อม (Environment) (x ̅ = 3.64 , S.D. = 0.48) และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A:Activities) (x ̅ = 3.64 , S.D. = 0.48) ด้านนักเรียน (S:Stuent) (x ̅ = 3.61 , S.D. = 0.48) และด้านเครื่องมือ (T:Tools) (x ̅ = 4.55 , S.D. = 0.50) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลที่เกิดรายด้าน พบว่า ด้านนักเรียน (Student) ทั้งครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน คือ นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือพิการ ได้รับสิทธิโอกาสทางการศึกษา (x ̅ = 4.73, S.D. = 0.46) และ (x ̅ = 4.73, S.D. = 0.46) เป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านสภาพแวดล้อม (Environment) ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนที่มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรวม (x ̅ = 4.80, S.D. = 0.41) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้ปกครองและนักเรียน ที่มีความเห็นว่า ได้แก่ ผู้บริหารมีบทบาท และเป็นผู้นำในการสร้างบรรยากาศของการจัดการเรียนรวม (x ̅ = 3.68 , S.D. = 0.47) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (Activities) ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่า มีการรายงานผลการเรียนของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือพิการ เรียนรวม (x ̅ = 4.73, S.D. = 0.46) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้ความคิดเห็นของปกครองและนักเรียน มีการนำข้อมูลสารสนเทศมาจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) (x ̅ = 3.70, S.D. = 0.46) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และในด้านด้านเครื่องมือ (Tools) พบว่า ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นว่า มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) (x ̅ = 4.63, S.D. = 0.52) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้ปกครอง และนักเรียน มีความคิดเห็นว่า มีการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานการจัดการเรียนรวม (x ̅ = 3.63, S.D. = 0.49) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

4.2.2 ประสิทธิผลที่เกิดด้านความพึงพอใจต่อโครงการ พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน พึงพอใจต่อโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โครงการทำให้นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ หรือพิการเรียนรวม นำหลักความรู้ ทักษะ ค่านิยมสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (x ̅ = 4.80, S.D. = 0.41) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนผู้ปกครองและนักเรียน โครงการทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน (x ̅ = 3.62, S.D. = 0.49) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด

4.3 ด้านความยั่งยืน ด้านความยั่งยืน พบว่า จากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ที่ประกอบด้วย ครู และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ จำนวน 8 คน ในเรื่องแนวปฏิบัติที่เป็นระบบของการดำเนินงานโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ที่เป็นนวัตกรรมนำไปสู่ความสำเร็จ และคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้รายงานสรุปเป็นรูปแบบการบริหารงานพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ตามโครงสร้างซีท เป็น 5G Model โมเดล ซึ่งมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

4.3.1 ปัจจัยนำเข้า (Input) เกี่ยวข้องกับทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างของซีท ประกอบด้วย นักเรียน สภาพแวดล้อม กิจกรรมการเรียนการสอน และเครื่องมือ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และความต้องการ นโยบายของต้นสังกัด และมีผลกระทบต่อการบริหารโครงการ

4.3.2 กระบวนการ (Process) เป็นการออกแบบแผนงานโครงการ โดยเฉพาะในเรื่องกิจกรรมที่ปฏิบัติในโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ ซึ่งกิจกรรมที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กิจกรรมการสร้างเจตคติของโรงเรียนเรียนรวม กิจกรรมการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเรียนรวม กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน กิจกรรมการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมการสอนเสริม และกิจกรรมการวัดผลประเมินผล โรงเรียนต้องกำหนดเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจนที่มุ่งสู่ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการในด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ โดยนำรูปแบบการบริหารเป็น 5G Model ซึ่งกำหนดวิธีการดำเนินการบริหารนวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนี้

G ที่ 1: Good New paradigm (กระบวนทัศน์ใหม่ ที่ดี) เป็นการนำวิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์กับการบริหารโครงการในยุคของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ดังนี้ คือ คุณธรรม (Moral agents) ตัวผู้บริหาร ครู นักเรียน จะต้องเป็นผู้นำด้านคุณธรรมให้แก่นักเรียนในโรงเรียน วิสัยทัศน์ร่วม (Chare Vision) ทุกคนต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกันของการบริหารโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท การกระตุ้นปัญญา (Intellectual Stimulation) ผู้บริหาร และคณะครู ต้องส่งเสริมกระตุ้นให้นักเรียน และนักเรียน ได้เกิดปัญญา รู้จักแก้ไขปัญหา ในการดำเนินกิจกรรม ใฝ่บริการ (Servant) ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ต้องมีจิตใฝ่บริการให้แก่ผู้รับบริการ ทั้งตัวนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และกระจายภาวะผู้นำ (Distributed) ในการดำเนินงานและกิจกรรมในโครงการต้องมีการกระจายภาวะผู้นำทีม โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานในบทบาทผู้นำและผู้ตามโดยไม่หวงอำนาจไว้กับผู้บริหาร ครู หรือนักเรียน เป็นการปรับแนวความคิดวิสัยทัศน์ศึกษา สภาพ ความต้องการพัฒนาของชุมชน สถานศึกษา และนโยบายของต้นสังกัด

G ที่ 2 : Good Participation (การมีส่วนร่วมที่ดี) เป็นการบริหารจัดการโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียน ครู และบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน และเน้นการมีส่วนร่วมด้านการสร้างเครือข่ายการทำงาน มีการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอโดย ปรับเปลี่ยนทัศนคติของทุกคนให้มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน

G ที่ 3 : Good Knowledge (การมีองค์ความรู้ที่ดี) ในการดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมนั้น สิ่งที่จำเป็นคือการมีองค์ความรู้ และมีความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานของการเรียนรวม ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องรู้การเรียนรวม เช่น โรงเรียนเรียนรวมคืออะไร แนวทางการดำเนินงาน รูปแบบการดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้มีความเข้าใจและร่วมปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

G ที่ 4 : Good Satisfaction (การมีความพึงพอใจที่ดี) การดำเนินกิจกรรมโครงการต้องเน้นให้เกิดความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการดำเนินงานตามโครงการ โดยเฉพาะผู้รับบริการที่ส่งนักเรียนเข้ามาเรียนในโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม รวมไปถึงผู้ที่มีหน้าที่ ที่จะต้องพัฒนานักเรียนตามกระบวนการการดำเนินงานต้องมีความเต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อทุกฝ่ายมีความพึงพอใจของการดำเนินงานตามโครงการการเรียนรวม เชื่อได้ว่าก็จะมีการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมไปสู่คุณภาพในอนาคต

4.3.3 ผลผลิต (Output) ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการบริหารงานพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท โรงเรียนบ้านหนองป่าก่อ คือ G ที่ 5 : Good Inclusive Schools (โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่ดี) คือ โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่ดีประกอบด้วยคุณภาพด้านตัวนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเรียนรวม ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเครื่องมือ และความพึงพอใจในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม

4.3.4 ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริงของการบริหารโครงการที่ใช้รูปแบบการบริหาร 5G Model มาใช้บริหารจัดการ โดยนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีปัญหา อุปสรรคที่ควรแก้ไขและพัฒนาอย่างไร เพื่อบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ถ้าหากว่าปรับปรุงแก้ไขแล้วยังไม่บรรลุตามที่กำหนด ก็ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นระบบต่อไป ถ้าหากตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขแล้วได้ผลตามเป้าหมาย ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผลนวัตกรรมสู่โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาโครงการสู่ความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานต้นสังกัดควารส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกโรงเรียนจัดการเรียนรวมในทุกระดับชั้นทั้งนี้เพราะเป็นการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลและสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พิการ กับเด็กปกติ

ควรส่งเสริมให้โรงเรียนยึดแนวโครงสร้าง SEAT Framework เป็นขอบข่ายในการพัฒนาการการจัดการเรียนรวม ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

ควรมีการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสภานักเรียนที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยประเมินในครั้งต่อไป

ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการัดการเรียนรวมในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันคือ เล็ก กลาง ใหญ่ ในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เหมาะสมกับโรงเรียนแต่ละขนาด

ควรมีการวิจัยประเมินรูปแบบการบริหารโครงการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีทต้นแบบ ระดับประเทศ สู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับโรงเรียนที่ต้องการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรวม

โพสต์โดย ผอ.ก้อง : [27 ส.ค. 2562 เวลา 19:32 น.]
อ่าน [4890] ไอพี : 182.53.235.89
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,646 ครั้ง
บททดสอบก่อนเกษียณ
บททดสอบก่อนเกษียณ

เปิดอ่าน 83,538 ครั้ง
ระบบโทรทัศน์
ระบบโทรทัศน์

เปิดอ่าน 17,255 ครั้ง
มุขตลกของเด็กๆ ในห้องเรียน จำลองห้องเป็นรถเมล์
มุขตลกของเด็กๆ ในห้องเรียน จำลองห้องเป็นรถเมล์

เปิดอ่าน 14,514 ครั้ง
สูตรอาหารแก้ท้องผูก
สูตรอาหารแก้ท้องผูก

เปิดอ่าน 18,725 ครั้ง
ข้าวกล้องงอก
ข้าวกล้องงอก

เปิดอ่าน 19,686 ครั้ง
การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์
การประเมินความจำเป็นในการกำหนดวัตถุประสงค์

เปิดอ่าน 50,925 ครั้ง
jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร
jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร

เปิดอ่าน 8,912 ครั้ง
ประเทศไทยได้อะไร... จากการรอใช้ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์
ประเทศไทยได้อะไร... จากการรอใช้ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์

เปิดอ่าน 39,143 ครั้ง
ตัวอย่างหลักสูตรปฐมวัย (ฉบับปรับปรุง2560) โดยโรงเรียนบ้านฝาผนัง ไฟล์เวิร์ด
ตัวอย่างหลักสูตรปฐมวัย (ฉบับปรับปรุง2560) โดยโรงเรียนบ้านฝาผนัง ไฟล์เวิร์ด

เปิดอ่าน 17,243 ครั้ง
สุดยอดโปรแกรมตรวจสอบสเปคคอมพิวเตอร์ ปี 2012
สุดยอดโปรแกรมตรวจสอบสเปคคอมพิวเตอร์ ปี 2012

เปิดอ่าน 2,804 ครั้ง
เปิดเทอม On-site ห่างไกลโควิด-19 แนะวิธีตรวจ ATK เด็ก
เปิดเทอม On-site ห่างไกลโควิด-19 แนะวิธีตรวจ ATK เด็ก

เปิดอ่าน 22,366 ครั้ง
การปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศเเละต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560
การปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศเเละต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2560

เปิดอ่าน 8,568 ครั้ง
หนุ่มดวงแข็งที่สุดในสามโลก รถตกตึก ยังลุกขึ้นมาเดินเฉย
หนุ่มดวงแข็งที่สุดในสามโลก รถตกตึก ยังลุกขึ้นมาเดินเฉย

เปิดอ่าน 20,145 ครั้ง
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ

เปิดอ่าน 11,325 ครั้ง
ใช้คอมมากระวัง.. โรควุ้นในตาเสื่อม !!
ใช้คอมมากระวัง.. โรควุ้นในตาเสื่อม !!

เปิดอ่าน 50,125 ครั้ง
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 12,285 ครั้ง
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
ดูให้รู้ : โรงเรียนสร้างเด็กสุดยอดผู้นำ
เปิดอ่าน 13,707 ครั้ง
คลิปสุดฮา ฝรั่งเผยโดนคนไทยด่าครั้งแรก
คลิปสุดฮา ฝรั่งเผยโดนคนไทยด่าครั้งแรก
เปิดอ่าน 17,120 ครั้ง
รับอากาศบริสุทธิ์ เพิ่มพลังให้สมอง
รับอากาศบริสุทธิ์ เพิ่มพลังให้สมอง
เปิดอ่าน 10,858 ครั้ง
ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ