ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3
โดยใช้นิทานคุณธรรม
ผู้วิจัย นางจิตรา หาญพยัคฆ์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การดำเนินงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม (2) เพื่อสร้างรูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม
(3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (เมืองเก่าวิทยา) ปีการศึกษา 2560 จากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 19 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ (เมืองเก่าวิทยา) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ (1) แบบสอบถาม และ แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 พบว่า 1.1) สภาพปัจจุบันของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ส่วนใหญ่สภาพครอบครัวเป็นครอบครัวที่มีฐานะปานกลางไปถึงค่อนข้างยากจน ครอบครัวมีรายได้ปานกลางถึงน้อย นักเรียนส่วนใหญ่ถูกเลี้ยงดูโดย ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติ ทำให้นักเรียนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบิดา มารดา เท่าที่ควร หรือถูกเลี้ยงแบบตามใจ หรือเลี้ยงโดยใช้เทคโนโลยี เนื่องจากผู้ปกครองต้องทำงานเพื่อเลี้ยงชีพจึงทำให้นักเรียนค่อนข้างขาดความอบอุ่น จิตใจกระด้าง เห็นแก่ตัว ไม่ไว้ใจใคร ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่มีระเบียบวินัย ขาดความรับผิดชอบ พูดจาก้าวร้าว ไม่รู้จักแบ่งปัน
เห็นแก่ประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก ควบคุมอารมณ์ไมได้เมื่อถูกขัดใจ 1.2) จากการศึกษาสภาพปัจจุบันคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 พบว่าโดยภาพรวมสภาพปัจจุบันคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ทั้ง 8 ประการ คือ ด้านความขยัน ด้านความประหยัด ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความมีวินัย ด้านความสุภาพ ด้านความสะอาด ด้านความสามัคคี และด้านความมีน้ำใจ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับปานกลาง (X-bar = 3.00 , S.D. = 0.87) ทุกด้าน
1.3) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์นั้นโดยภาพรวมผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ด้านขยัน (X-bar = 4.53, S.D. = 0.68) ด้านประหยัด ( X-bar = 4.51, S.D. = 0.65) และด้านมีวินัย (X-bar = 4.57, S.D. = 0.58) ต้องการให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านซื่อสัตย์ (X-bar = 4.29, S.D. = 0.68) ด้านสุภาพ ( X-bar = 4.13, S.D. = 0.86) ด้านสะอาด (X-bar = 4.27, S.D. = 0.66) ด้านสามัคคี (X-bar = 3.84, S.D. = 0.77) และด้านมีน้ำใจ (X-bar = 4.46, S.D. = 0.59) ต้องการให้นักเรียนมีคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้น
ปีที่ 3 พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เรียงลำดับตามผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านความมีวินัย ลำดับที่ 2 ด้านการประหยัด ลำดับที่ 3 ด้านความมีน้ำใจ ลำดับที่ 4 ด้านความสะอาด ลำดับที่ 5 ด้านซื่อสัตย์ ลำดับที่ 6 ด้านความสุภาพ ลำดับที่ 7 ด้านความขยัน และลำดับที่ 8 ด้านความสามัคคี ตามลำดับ
2. การพัฒนารูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3
โดยใช้นิทานคุณธรรม พบว่า ผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีค่าร้อยละสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกองค์ประกอบ แสดงว่าทุกองค์ประกอบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและมีความถูกต้อง ส่วนผลการประเมินรูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีค่าร้อยละสูงกว่าร้อยละ 80 แสดงว่ารูปแบบมีความเหมาะสม ผู้วิจัยได้นำกระบวนการพัฒนาคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ 5 ขั้น นำมาใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นอุปนิสัยของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งแสดงออกให้ผู้อื่น
ได้เห็นอย่างเหมาะสม ให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงามอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. การศึกษาการใช้รูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3
โดยใช้นิทานคุณธรรม พบว่า 3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 3.92, S.D. = 0.84 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ทุกด้านมีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีเพียง 2 ตัวบ่งชี้เท่านั้นที่มีผลการประเมิน
อยู่ในระดับมากที่สุด คือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 4 ด้านความมีวินัย ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติของห้องเรียน : X-bar = 4.61, S.D. = 0.63 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2 ปฏิบัติตามกฏ ระเบียบของสถานศึกษา : X-bar = 4.59, S.D. = 0.77) และเมื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม พบว่า ก่อนนำรูปแบบไปใช้มีผลการประเมิน
อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อนำรูปแบบไปใช้เป็นเวลา 1 ภาคเรียน ทำให้ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ดีขึ้นจนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบพบว่านักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 มีพฤติกรรมที่เป็นบวกมากขึ้นรู้จักการแบ่งปัน มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ไม่พูดจาก้าวร้าว มีความมั่นใจในตนเองในการแสดงออกมากขึ้น ทำให้ผู้ปกครอง ครู และฝ่ายบริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก