ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางเบญจวรรณ ภัทรสถิรกุล
ปีที่ทำการศึกษา ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ
การอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๓) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสัตตนารถปริวัตร) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๓๐ คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๐ แผน ๒) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๖ เล่ม ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือก ๓ ตัวเลือก จำนวน ๒๐ ข้อ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ หลังการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ แบบคำถามปลายปิดจำนวน ๑๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๙.๗๘/๘๙.๘๓ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๑
๓. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีค่าเท่ากับ ๐.๘๒๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๐๖
ซึ่งมีค่ามากกว่า ๐.๕๐
๔. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและ
การเขียนสะกดคำ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕
ผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นไปตามสมมติฐานที่กําหนดไว้ทั้ง ๔ ข้อ