ชื่อเรื่อง : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
ด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวนงเยาว์ สุทธิสงค์
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาล ๒ (คลองจิหลาด)
ปีการศึกษา : 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ดำเนินการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเทศบาล ๒ (คลองจิหลาด) อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ สังกัดเทศบาลเมืองกระบี่ จำนวน 6 คน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ (คลองจิหลาด) อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ สังกัดเทศบาลเมืองกระบี่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 43 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบที ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันโดยรวมครูมีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21, S.D. = 0.11) และมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.07)
2. กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ใหม่ขั้นที่ 4 ทบทวนความรู้ใหม่ และขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินว่ากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.50) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.47) และเมื่อนำไปทดลองใช้ พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.96/82.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และผังมโนทัศน์ เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.10)