การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนา ตรวจสอบประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล และศึกษาผลการเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอลด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) : ประกอบด้วย (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) นำร่างองค์ประกอบของชุดกิจกรรมฝึกทักษะไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณา ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D&D) : ผู้วิจัยได้นำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากระยะที่ 1 มาพัฒนาแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพของชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล แล้วนำไปทดลองใช้ (Tryout) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ และหาประสิทธิภาพ ดัชนีประสิทธิผล ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R2)
การทดลองใช้ (Implementation : I) ผู้วิจัยนำชุดกิจกรรมฝึกทักษะที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ศึกษาทักษะการเล่นวอลเลย์บอล และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล และปรับปรุงแก้ไข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๒ เชิงชุมอนุชนวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน
ซึ่งได้มาจากการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัย
เชิงทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมฝึกทักษะวอลเลย์บอลเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล จำนวน 6 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน
(3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ (4) แบบประเมินทักษะวอลเลย์บอล และ (5) แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 15 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะวอลเลย์บอลเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้
แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งหมด 6 ชุด แต่ละชุดมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) คู่มือครู มีองค์ประกอบ 11 ข้อ 2) คู่มือนักเรียน มีองค์ประกอบ 11 ข้อ ผลการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบ
ชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล มีความเหมาะสมในระดับมาก (x̄ = 4.25 ,S.D. = 0.04 )
2. ชุดกิจกรรมฝึกทักษะวอลเลย์บอลเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้
แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่มีผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.79/83.44 สูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้คือ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 0.50
3. ผลการเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล ด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะ
เพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3.2) ผลการประเมินทักษะวอลเลย์บอลของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่านักเรียนมีทักษะการเล่นวอลเลย์บอลอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด
( x̄= 4.54, S.D. = 0.01)
3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยต่อชุดกิจกรรมฝึกทักษะเพื่อเสริมสร้างทักษะวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน อยู่ในเกณฑ์มาก (x̄ = 4.26, S.D. = 0.11 )