บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและทักษะในการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนเรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและทักษะในการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ
พลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ ก่อนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและทักษะในการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพและทักษะในการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน
วิธีดำเนินการศึกษา ใช้แบบแผนการศึกษาโดยระเบียบวิธีวิจัยปฏิบัติการ (Action research)
มีวิธีดำเนินการโดย 1) กลุ่มเป้าหมายหลักของการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) กลุ่มเป้าหมายร่วมได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีบทบาทในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน ออกแบบการศึกษาตามแบบการวิจัยเชิงทดลองอย่างง่าย (Pre -experiment) กับนักเรียนกลุ่มเดียว โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (one group pretest-Posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ นวัตกรรม (การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน) และเครื่องมือ
การประเมินผล การเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ คือระยะก่อนการศึกษา ระหว่างการศึกษา และหลังการศึกษา วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรม Microsoft Excel ในการคำนวณหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูล
เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้วิธีการการบรรยาย และใช้ภาพประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100.00
ได้ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.73 แสดงว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ผู้เรียน
มีพัฒนาการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.00 และเมื่อพิจารณาจากการประเมินผลการเรียนรู้
คิดเป็นร้อยละ 86.40 ได้ค่าเฉลี่ย 8.64 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73 พบว่าการพัฒนา
การเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.40/ 93.69
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนรวมหลังเรียน 1649 เฉลี่ยก่อนเรียน 37.48
หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 93.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนที่ 1.49 ( = 37.48, S.D.= 1.49)
3. ผลการศึกษาความรับผิดชอบต่อการเรียน หลังเรียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบโครงงาน นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนในระดับมากทุกด้าน โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ การมาเรียนคิดเป็นร้อยละ 96.21 ( = 2.89 ,S.D = 0.32) การทำงานที่มอบหมาย คิดเป็น
ร้อยละ 93.18 ( = 2.80 , S.D = 0.41 ) การแต่งกาย คิดเป็นร้อยละ 93.18 ( = 2.80 , S.D = 0.41)
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียน เมื่อพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คือ ( = 4.71, S.D. = 0.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน ( = 4.91, S.D. = 0.29 ) นักเรียนสามารถค้นคว้าความรู้ได้ตามต้องการ ( = 4.89, S.D. = 0.32) และเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่องเข้าใจง่าย ( = 4.82, S.D. = 0.39)