ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางจุฑารัตน์ สุระโคตร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development ) โดยผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นขั้นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นขั้นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นขั้นการนำไปทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นขั้นการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดี จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ใช้แบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Understanding Problem) ขั้นที่ 2 ขั้นการสืบค้นข้อมูลหาวิธีการแก้ปัญหา (Searching Method) ขั้นที่ 3 การเลือกกลวิธีในการแก้ปัญหา (Technique Finding) ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหา (Problem Solving) และขั้นที่ 5 การประเมินผลและการประยุกต์ใช้ (Evaluation and Application) หลังจากสิ้นสุดการเรียนในแต่ละแผน นักเรียนจะต้องได้รับการทดสอบท้ายแผน ซึ่งต้องใช้ความสามารถของตนเอง
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85.75/84.12 และเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 84.47/82.21
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด